รายงานความคืบหน้าที่มาอบรมวันที่ 4 ครับ..
เล่าเรื่องราวที่มาอบรม..ผ่านภาพนิ่งครับ..
ช่วงเช้าอบรมโดย อาจารย์ ดร.รุ่งฟ้า จันท์จารุภรณ์ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
'แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และการพัฒนาสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้'
'แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และการพัฒนาสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้'
7. ท่านแนะนำหนังสือมากมายและสอนวิธีการใช้สื่อให้เหมาะสมแก่ผู้เรียนทั้งระดับชั้นประถม จนถึง ระดับมัธยมศึกษา ผมมีภาพสื่อการเรียนรู้และหนังสือดีมาประกอบให้ดู ดังนี้ครับ..
หนังสือคณิตดีๆ มีมาแนะนำครับ..
สองเล่มนี้ต้องหามาอ่านศึกษาให้ได้เร็วที่สุดครับ..
เล่มนี้มีแล้วครับ(เขามอบให้ผมวันนี้) กำลังอ่านค่ำคืนนี้ ชอบมากๆครับ
สื่อดีๆ นำมาปรับพัฒนาใช้ประกอบการเรียนการสอนครับ
ลูกเต๋าแสนสนุก ผมซื้อมามอบให้ระดับชั้น อนุบาล ประถม และมัธยม
ชุดต่อน่ารักๆ ชุดประกอบสอนคู่อันดับ
บล๊อกเล็กหลากสี ชุดประกอบการสอนแบบรูป เรขาคณิต
กล่องน่ารู้ , ลูกเต๋า ชุดประกอบการสอนเศษส่วน การดำเนินการของจำนวน ฯลฯ
ลูกปิงปอง 5 สี ชุดประกอบการสอนความน่าจะเป็น
เศษส่วนหรรษา ชุดประกอบการสอนเศษส่วน ทศนิยม การดำเนินการจำนวน
ไม้บรรทักชด 12 ท่อน ใช้ประกอบการสอนเกี่ยวกับรูปเรขาคณิต การวัด
เรขาคณิตในกรอบ ใช้แบ่งแยกออก ให้นักเรียนจับคู่หารูปทรงที่เข้ารูปกัน
ตารางสอน 3D สอนเกี่ยวกับเรื่องกราฟ เส้น รูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ
ชุดรูปทรง ให้นักเรียนสร้างสรรค์รูปตามจินตนาการเอง หลากหลายวิธีการ
ขอบคุณหนังสือดีๆ และสื่อที่ผมจะลองนำไปปรับใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนฯ ครับ อ.รุ่งฟ้า
ช่วงบ่ายอบรมโดย อาจารย์ ดร.โกมล ไพศาล (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)
'พหุนาม การแยกตัวประกอบ และเศษส่วนพหุนาม'
'พหุนาม การแยกตัวประกอบ และเศษส่วนพหุนาม'
8. เทคนิดการแก้ปัญหาโจทย์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และอาจารย์ ดร.โกมล ยังแนะนำนักคณิตศาสตร์และทฤษฎีมากมายครับ ท่านนี้อธิบายลุ่มลึกมากครับ(ออกแนวๆ งุนงงกันทั้งห้องครับ..)
เช่น -2x , 4+8xy , 3x-4y+5
การแยกตัวประกอบของพหุนาม หมายถึง การเขียนพหุนามในรูปผลคูณของพหุนามที่มีดีกรีน้อยกว่าเดิมหรือเท่าเดิมตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไปและทำย้อนกลับแล้วได้ค่าเท่าเดิม
เช่น x^2 - y^3 = (x+y)(x-y)
เรียก พหุนาม (x+y) และ (x-y) ว่า ตัวประกอบของ x^2 - y^2
(หมายเหตุ : ^ หมายถึง ยกกำลังนะครับ)
เศษส่วนพหุนาม คือ เศษส่วนที่มีตัวเศษหรือตัวส่วนเป็นพหุนามหรือทั้งสองอย่าง โดยที่ตัวส่วนไม่เป็นศูนย์ เรากล่าวว่าเศษส่วนของพหุนามอยู่ในรูปอย่างง่าย เมื่อตัวประกอบร่วมของทั้งตัวเศษและตัวส่วนเป็น 1 หรือ -1 เศษส่วนของพหุนามใดๆ สามารถทำให้อยู่ในรูปอย่างง่าย โดยการแยกตัวประกอบทั้งตัวเศษและตัวส่วนมาตัดทอนกัน..
ทฤษฏีบท(The Eisenstein Criterion) กำหนดพหุนามที่มี ส.ป.ส. เป็นจำนวนจริง ถ้ามีจำนวนเฉพาะ(P) ซึ่งหาร ส.ป.ส. ลงตัว ยกเว้น ส.ป.ส. ของนิพจน์ที่มีดีกรีสูงสุดและ p^2 ไม่สามารถหารนิพจน์ที่เป็นค่าคงตัว และจะได้ว่าพหุนามนั้นแยกตัวประกอบไม่ได้ บนฟิลด์ของจำนวนตรรกยะ..
ขอบคุณโรงเรียนนอกกะลา ที่ให้โอกาสดีๆ ในครั้งนี้
ผมจะนำความรู้มาปรับใช้ ถ่ายทอดคณิตศาสตร์นอกกะลา ให้พัฒนาขึ้นครับ
ขอให้ ดร. ทั้ง 8 ท่าน มีความสุขครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น