วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554
MY MATHS : การสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ผ่านสื่อชุดแผ่นร้อย
นิตยสารคณิตศาสตร์
เพื่อการรู้ตื่นเบิกบาน สำหรับบุตรหลานของคุณ
www.mymathsmag.net
MY MATHS : The magazine of mathematics
16 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2554 # ฉบับที่ 75
MY MATHS : The magazine of mathematics
16 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2554 # ฉบับที่ 75
Mathucation :
การสอนคณิตศาสตร์ระดับประถม ศึกษา ผ่านสื่อชุดแผ่นร้อย
ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์
การสอนคณิตศาสตร์ระดับประถม
ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์
วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตของพี่ๆ ป.1
จุดสร้างสรรค์
การใช้จุดในการสร้างสรรค์รูปภาพที่สวยงาม ตามจินตนาการของเด็กๆ ให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงตำแหน่ง มองเห็นมิติสัมพันธ์และเกิดการคิดเชื่อมโยง จุดหลายๆ จุดทำให้เกิดเส้น และเส้นก็ทำให้เห็นรูปร่าง เมื่อมีความหนา ความลึก ความสูงก่อให้เกิดรูปทรงต่างๆขึ้น
กระบวนการเรียนรู้
ชง
ครูให้นักเรียนดูภาพที่เกิดจากจุดหลายๆ จุด นักเรียนเห็นอะไรบ้าง เพราะอะไร
เชื่อม
นักเรียนยกมือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน โดยครูจะไม่ผลีผลามบอกคำตอบ แต่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง และใช้คำถามกระตุ้นการคิด ใครคิดต่าง/ มีความเห็นอย่างอื่นบ้าง ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งทักษะการมองเห็นภาพ, ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล, ทักษะการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ เและค้นพบวิธีของตนเอง
ใช้
นักเรียนสร้างสรรค์รูปภาพตามจินตนาการโดยใช้จุด และนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
กระบวนการเรียนรู้
ชง
ครูให้นักเรียนดูภาพที่เกิดจากจุดหลายๆ จุด นักเรียนเห็นอะไรบ้าง เพราะอะไร
เชื่อม
นักเรียนยกมือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน โดยครูจะไม่ผลีผลามบอกคำตอบ แต่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง และใช้คำถามกระตุ้นการคิด ใครคิดต่าง/ มีความเห็นอย่างอื่นบ้าง ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งทักษะการมองเห็นภาพ, ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล, ทักษะการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ เและค้นพบวิธีของตนเอง
ใช้
นักเรียนสร้างสรรค์รูปภาพตามจินตนาการโดยใช้จุด และนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
เส้นสวยงาน
การใช้เส้นหลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์รูปภาพที่สวยงาม ตามจินตนาการของเด็กๆ
ตัวอย่างชิ้นงาน
การใช้เส้นหลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์รูปภาพที่สวยงาม ตามจินตนาการของเด็กๆ
ตัวอย่างชิ้นงาน
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ทำภาระงาน..ลงในสมุดคณิตศาสตร์นอกกะลา(ประโยชน์ของการลอกงานมาส่งครู)
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
บางชั่วโมงครูไม่ได้ให้นักเรียนทำชิ้นงานลงในสมุด ครูจะขึ้นโจทย์บนกระดาษแล้วให้นักเรียนเขียนแสดงวิธีคิดลงในสมุดของนักเรียน นักเรียนที่นี่จะมีเวลาทำภาระงานในแต่ละคาบเรียนประมาณ 25-35 นาที นักเรียนที่ทำงานเสร็จก่อนเพื่อน บางชั่วโมงครูก็จะมีโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักเรียนที่ทำงานเสร็จเร็วก่อนเพื่อน เราจะเรียกว่า 'มุมคนเก่ง' หรือบางชั่วโมงครูจะให้นักเรียนที่ทำเสร็จเร็ว ตกแต่งชิ้นงานของตัวเองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย วาดภาพประกอบ หรือเป็นกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน..
ผมจะให้นักเรียนระดมความคิดในชั่วโมงนั้น นักเรียนที่เรียนรู้เร็วครูก็จะให้ช่วยเพื่อนที่เรียนรู้ช้า ยังทำงานไม่เสร็จหรือไม่เข้าใจในโจทย์ข้อนั้นๆ
การช่วยเพื่อนอาจจะมีหลายวิธี บางคนอาจจะเพียงอธิบายให้เพื่อนๆ เพื่อนบางคนอาจจะลอกเพื่อนมาส่งครู ข้อนี้สำคัญครับ ถ้าหากนักเรียนลกองานกันมาส่งครู ครูต้องตรวจสอบความเข้าใจผู้เรียนขณะส่งงานในชั่วโมงนั้นๆ โดยการสังเกตขณะที่เวลานักเรียนทำภาระงาน ครูใช้คำถามตรวจสอบเช็คความเข้าใจผู้เรียน ให้นักเรียนได้อธิบาย
ที่นี่ถ้าหากผู้เรียนลอกงานเพื่อนมาส่ง เราไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิด แต่มันก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของเขา ให้เขาได้เรียนรู้การทำงานจากเพื่อน ครูต้องไม่ปิดกั้นจินตนาการผู้เรียนไปจนหมดทุกเรื่อง ให้เขาได้เรียนรู้การทำงานด้วยตนเอง ให้เข้าเกิดความงอกงามจากตัวของเขาเอง
เมื่อเขาเข้าใจในการเรียนคณิตศาสตร์ดีแล้ว เขาจะไม่ให้ความสำคัญของการลอกอีกเลย
มีเหตุการณ์อยู่ครั้งหนึ่งตอนผมเรียนที่มหาลัยฯ ผมชอบลอกงานเพื่อนไปส่งคณาจารย์เป็นประจำ จนกระทั่งเพื่อนๆ คนที่เคยให้เพื่อนลอกงานนั้นเกิดป่วยขึ้นมา วันนั้นเองผมและเพื่อนๆ อีกหลานคนต้องดิ้นรน ค้นคิดหาคำตอบด้วยพวกเราเอง โดยแบ่งโจทย์กันคนละ 1-2 ข้อ จนกระทั่งพวกเราทำงานกันจนเสร็จ และนั้นเองเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ผมและเพื่อนๆ ต้องเสาะแสวงหาควรรู้กันเองตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
บทเรียนบางอย่างมันสอนหรือบอกกันเลยไม่ได้ มันต้องเรียนรู้จากประสบการณ์บางอย่าง เพื่อเรียนรู้และจะผ่านมัน
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การเรียนรู้เรื่องการตวงของพี่ๆ ป.1
นักเรียนคาดเดาปริมาณของน้ำในภาชนะแต่ชนิด เปรียบเทียบและเรียงลำดับ มาก-น้อย โดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง
คาดเดาการตวงโดยใช้อุปกรณ์ (ช้อน) ก่อนการตวงจริง
ทดลองการตวงจริงจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อความเข้าใจ
สรุปผลการตวงจริง แล้วนำเสนอในชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
นักเรียนบันทึกข้อมูลที่สรุปได้ลงสมุดของตนเอง
คาดเดาการตวงโดยใช้อุปกรณ์ (ช้อน) ก่อนการตวงจริง
ทดลองการตวงจริงจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อความเข้าใจ
สรุปผลการตวงจริง แล้วนำเสนอในชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
นักเรียนบันทึกข้อมูลที่สรุปได้ลงสมุดของตนเอง
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การเรียนรู้เรื่องเงินของพี่ๆ ป.1
มูลค่าของเงิน
- ครูมีถุงวิเศษใบหนึ่งซึ่งภายในบรรจุสิ่งของมหัศจรรย์ซ้อนอยู่ อยากให้นักเรียนช่วยล้วนดูสิ่งของมหัศจรรย์นั้น พร้อมบอกด้วยว่าคืออะไร
- นักเรียนล้วงสิ่งของในถุงวิเศษทีละหนึ่งชิ้น พร้อมบอกว่าสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนั้นคืออะไร และเพื่อนๆ ทำหน้าที่ช่วยตรวจสอบคำตอบของเพื่อนที่ล้วนสิ่งของจากถุงวิเศษ
(ภายในถุงใส่สื่อจริงเป็นเงินชนิดต่างๆ ทั้งธนบัตรและเหรียญ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบเงินของตนเอง โดยกำหนดมูลค่า และขนาด เมื่อเสร็จนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ครูมีถุงวิเศษใบหนึ่งซึ่งภายในบรรจุสิ่งของมหัศจรรย์ซ้อนอยู่ อยากให้นักเรียนช่วยล้วนดูสิ่งของมหัศจรรย์นั้น พร้อมบอกด้วยว่าคืออะไร
- นักเรียนล้วงสิ่งของในถุงวิเศษทีละหนึ่งชิ้น พร้อมบอกว่าสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนั้นคืออะไร และเพื่อนๆ ทำหน้าที่ช่วยตรวจสอบคำตอบของเพื่อนที่ล้วนสิ่งของจากถุงวิเศษ
(ภายในถุงใส่สื่อจริงเป็นเงินชนิดต่างๆ ทั้งธนบัตรและเหรียญ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบเงินของตนเอง โดยกำหนดมูลค่า และขนาด เมื่อเสร็จนำเสนอหน้าชั้นเรียน
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์(mathematics concepts)
กรอบเดิมการสอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ : คำตอบ - วิธีการ - ความคิดรวบยอด
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนนอกกะลา : ความคิดรวบยอด - วิธีการ - คำตอบ
เราให้ความสำคัญกับการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเสียก่อน การสอน คณิตศาสตร์ที่นี่จึงให้ความสำคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคำตอบที่สำคัญกว่าคำตอบจริงๆ
ความคิดรวบยอดมาจาก คำภาษาอังกฤษว่า 'Concept' หมายถึง ความคิด ความเข้าใจในขั้นสุดท้ายของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่ง อันเกิดจากการได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทำให้บุคคลนั้นสามารถสรุปรวมลักษณะเหมือน หรือแยกแยะลักษณะแตกต่าง เข้าใจถึงโครงสร้างหน้าที่ และสามารถเชื่อมโยงรวมทั้งประมวลคุณลักษณะต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วสรุปเป็นความคิดความเข้าใจของ ตนเอง
ความคิดรวบยอดของเรื่องราวต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตาม หากครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วไม่สามารถทำให้นักเรียนเกิดความรู้ เข้าใจความคิดรวบยอดของเรื่องที่เรียนนั้นได้แล้ว ก็ยากที่ครูจะนำพาความรู้อื่นๆ ที่กว้างมากกว่าเข้ามาเชื่อมโยงสู่ความเข้าใจให้กับนักเรียนในเนื้อหาใน เรื่องต่อๆ ไปที่ซับซ้อนและเข้าใจยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อครูพบว่าพบว่ามีนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนต้องอธิบายหรือใช้คำถามให้นักเรียนคิดเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากตัว ของนักเรียนเอง เรื่องความคิดรวบยอดที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูอาจจะใช้ตัวอย่างและสื่อประกอบการเรียนการสอนที่มีความหมาย อาจจะใช้ความรู้จากเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่นักเรียนประสบอยู่เข้ามา ประกอบการอธิบายในเรื่องนั้นๆ โดยการใช้สิ่งที่สามารถจับต้องได้อาจจะเป็นของใช้ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้เป็น สื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เช่น การสอนการบวก การลบ การคูณ การหาร การเพิ่มเข้ามา การยืม การหักออก และการคงไว้ เป็นต้น
ครูจะสามารถยก ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น ในการสอนเรื่องการลบ อาจยกตัวอย่างว่า "ครูมีก้อนหินอยู่ 9 ก้อน ให้หยิบออก 3 ก้อน ครูจะเหลือก้อนหินอยู่กี่ก้อน?" แทนการใช้โจทย์ที่ว่า "9-3 มีค่าเป็นเท่าไร?" เป็นต้น
ครูควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงใน การเรียนเกี่ยวกับการชั่ง การตวง การวัด เช่น ครูจัดกิจกรรมฝึกให้วัดสิ่งที่อยู่ในห้องเรียนโดยการใช้ไม้บรรทัด การให้เด็กฝึกตวงทราย ตวงข้าว ตวงน้ำ หรือตวงถั่วโดยใช้ถ้วยตวง
ครู ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย บางกิจกรรมอาจจะให้เรียนรู้ผ่านการแสดงละครในบทบาทสมมติในการสอนบางเรื่อง เช่น สอนเรื่องเงิน ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเขียนบทละคร ผ่านตัวละครให้เกิดการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขาย ให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตรา หรือถ้าเป็นการสอนเรื่องทิศและแผนผัง ครูก็อาจจะพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณโดยรอบของโรงเรียน เพื่อนำสิ่งที่เห็นนำมาออกแบบโครงร่างผ่านการเรียนรู้ในกิจกรรมที่มี หลากหลายรูปแบบ
การสอนเกี่ยวกับคำที่ต้องใช้บ่อยๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ ควรจะใช้ตัวอย่างที่เป็นของจริงเมื่อสอนเกี่ยวกับความคิดรงบยอดที่เป็น นามธรรม เช่น การอธิบายคำว่า 'หักออก' หรือ 'เพิ่มอีก' ครูอาจจะใช้สื่อประกอบการสอนที่เป็นของจริงจับต้องได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น นำก้อนหิน 13 ก้อน(หินสีขาว 6 ก้อน และหินสีดำ 7 ก้อน)ที่ มีสีแตกต่างกันจำนวนไม่เท่ากันมาให้นักเรียนหยิบก้อนหินใสในถุงที่ 1 และถุงที่ 2 หยิบใส่ทีละคู่ ก้อนหินจะเหลือเศษ 1 ที่นี้ครูควรใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นักเรียนอธิบายความเข้าใจที่ว่าทำไมก้อนหินก้อนที่เหลือนี้จึงไม่มี คู่ เพราะก้อนหินที่ครูนำมามีจำนวนแต่ละสีไม่เท่ากัน สุดท้ายนักเรียนจะสามารถบอกได้ว่าหินสีดำมีมากกว่าหินสีขาว หรืออีกตัวอย่างกิจกรรม ครูใช้ภาษาธรรมชาติในการถามคำถามนักเรียนในกรณีที่สอนระดับประถมศึกษาตอนต้น เช่น 'มีหินอยู่ 13 ก้อน หยิบออก 5 ก้อน จะเหลือหินอยู่เท่าไร?' หรือ 'มีกระดุมอยู่ 6 เม็ด หยิบมาเพิ่มอีก 4 เม็ด จะมีกระดุมอยู่กี่เม็ด?'
คณิตศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงให้ความสำคัญกับการสอนให้นักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอด
การสอนสาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ ครูสอนโดยการผ่านชุดแผ่นร้อย เรามีวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อใช้เป็นสื่อจริงสอนเรื่องจำนวนและการดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด (Conceptual) และเกิดความรู้สึกเชิงจำนวน (Number Sence) อันจะนำไปสู่ความเข้าใจ
ตัวอย่างกิจกรรม : สี่ร้อยห้าสิบเก้า = 459 = 400 + 50 + 9
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนนอกกะลา : ความคิดรวบยอด - วิธีการ - คำตอบ
เราให้ความสำคัญกับการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเสียก่อน การสอน คณิตศาสตร์ที่นี่จึงให้ความสำคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคำตอบที่สำคัญกว่าคำตอบจริงๆ
ความคิดรวบยอดมาจาก คำภาษาอังกฤษว่า 'Concept' หมายถึง ความคิด ความเข้าใจในขั้นสุดท้ายของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่ง อันเกิดจากการได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทำให้บุคคลนั้นสามารถสรุปรวมลักษณะเหมือน หรือแยกแยะลักษณะแตกต่าง เข้าใจถึงโครงสร้างหน้าที่ และสามารถเชื่อมโยงรวมทั้งประมวลคุณลักษณะต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วสรุปเป็นความคิดความเข้าใจของ ตนเอง
ความคิดรวบยอดของเรื่องราวต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตาม หากครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วไม่สามารถทำให้นักเรียนเกิดความรู้ เข้าใจความคิดรวบยอดของเรื่องที่เรียนนั้นได้แล้ว ก็ยากที่ครูจะนำพาความรู้อื่นๆ ที่กว้างมากกว่าเข้ามาเชื่อมโยงสู่ความเข้าใจให้กับนักเรียนในเนื้อหาใน เรื่องต่อๆ ไปที่ซับซ้อนและเข้าใจยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อครูพบว่าพบว่ามีนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนต้องอธิบายหรือใช้คำถามให้นักเรียนคิดเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากตัว ของนักเรียนเอง เรื่องความคิดรวบยอดที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูอาจจะใช้ตัวอย่างและสื่อประกอบการเรียนการสอนที่มีความหมาย อาจจะใช้ความรู้จากเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่นักเรียนประสบอยู่เข้ามา ประกอบการอธิบายในเรื่องนั้นๆ โดยการใช้สิ่งที่สามารถจับต้องได้อาจจะเป็นของใช้ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้เป็น สื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เช่น การสอนการบวก การลบ การคูณ การหาร การเพิ่มเข้ามา การยืม การหักออก และการคงไว้ เป็นต้น
ครูจะสามารถยก ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น ในการสอนเรื่องการลบ อาจยกตัวอย่างว่า "ครูมีก้อนหินอยู่ 9 ก้อน ให้หยิบออก 3 ก้อน ครูจะเหลือก้อนหินอยู่กี่ก้อน?" แทนการใช้โจทย์ที่ว่า "9-3 มีค่าเป็นเท่าไร?" เป็นต้น
ครูควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงใน การเรียนเกี่ยวกับการชั่ง การตวง การวัด เช่น ครูจัดกิจกรรมฝึกให้วัดสิ่งที่อยู่ในห้องเรียนโดยการใช้ไม้บรรทัด การให้เด็กฝึกตวงทราย ตวงข้าว ตวงน้ำ หรือตวงถั่วโดยใช้ถ้วยตวง
ครู ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลาย บางกิจกรรมอาจจะให้เรียนรู้ผ่านการแสดงละครในบทบาทสมมติในการสอนบางเรื่อง เช่น สอนเรื่องเงิน ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเขียนบทละคร ผ่านตัวละครให้เกิดการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขาย ให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตรา หรือถ้าเป็นการสอนเรื่องทิศและแผนผัง ครูก็อาจจะพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณโดยรอบของโรงเรียน เพื่อนำสิ่งที่เห็นนำมาออกแบบโครงร่างผ่านการเรียนรู้ในกิจกรรมที่มี หลากหลายรูปแบบ
การสอนเกี่ยวกับคำที่ต้องใช้บ่อยๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ ควรจะใช้ตัวอย่างที่เป็นของจริงเมื่อสอนเกี่ยวกับความคิดรงบยอดที่เป็น นามธรรม เช่น การอธิบายคำว่า 'หักออก' หรือ 'เพิ่มอีก' ครูอาจจะใช้สื่อประกอบการสอนที่เป็นของจริงจับต้องได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น นำก้อนหิน 13 ก้อน(หินสีขาว 6 ก้อน และหินสีดำ 7 ก้อน)ที่ มีสีแตกต่างกันจำนวนไม่เท่ากันมาให้นักเรียนหยิบก้อนหินใสในถุงที่ 1 และถุงที่ 2 หยิบใส่ทีละคู่ ก้อนหินจะเหลือเศษ 1 ที่นี้ครูควรใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นักเรียนอธิบายความเข้าใจที่ว่าทำไมก้อนหินก้อนที่เหลือนี้จึงไม่มี คู่ เพราะก้อนหินที่ครูนำมามีจำนวนแต่ละสีไม่เท่ากัน สุดท้ายนักเรียนจะสามารถบอกได้ว่าหินสีดำมีมากกว่าหินสีขาว หรืออีกตัวอย่างกิจกรรม ครูใช้ภาษาธรรมชาติในการถามคำถามนักเรียนในกรณีที่สอนระดับประถมศึกษาตอนต้น เช่น 'มีหินอยู่ 13 ก้อน หยิบออก 5 ก้อน จะเหลือหินอยู่เท่าไร?' หรือ 'มีกระดุมอยู่ 6 เม็ด หยิบมาเพิ่มอีก 4 เม็ด จะมีกระดุมอยู่กี่เม็ด?'
คณิตศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงให้ความสำคัญกับการสอนให้นักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอด
การสอนสาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ ครูสอนโดยการผ่านชุดแผ่นร้อย เรามีวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อใช้เป็นสื่อจริงสอนเรื่องจำนวนและการดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด (Conceptual) และเกิดความรู้สึกเชิงจำนวน (Number Sence) อันจะนำไปสู่ความเข้าใจ
ตัวอย่างกิจกรรม : สี่ร้อยห้าสิบเก้า = 459 = 400 + 50 + 9
- นักเรียนเข้าใจว่า 495 ประกอบไปด้วย แผ่นร้อน 4 แผ่น แท่งสิบ 5 แท่ง หน่วยจิ๋ว 9 หน่วย
- นักเรียนเข้าใจว่าเลข 4 ในหลักร้อยมีค่า 400 เลข 5 ในหลักสิบมีค่า 50 เลข 9 ในหลักหน่วยมีค่า 9
- นักเรียนเข้าใจว่าค่าของเลขในหลักร้อยจะมากกว่าเลขในหลักสิบและค่าของเลขในหลักสิบมากกว่าเลขในหลักหน่วย
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
คุณสมบัติของ 'มุม'
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจ สาระที่ 2 : หน่วยมุมชวนหรรษา
ขั้นชง : ครูสอบถามความเข้าใจนักเรียนเรื่องมุม 'จากสิ่งที่ครูนำมาให้นักเรียนดูนี้ ทำไมของสิ่งนี้สามารถปรับขนาดของมุมได้ โดยเลือนไปตามขนาดที่ครูกางออกเรื่อยๆ ครูอยากทราบว่ามุมมีกี่ชนิด และคุณสมบัติของมุมแต่ละชนิด มีความหมายอย่างไรบ้าง?' (ครูนำไม้วัดมุม มาแนะนำนักเรียน พร้อมกางขนาดให้นักเรียนดู)
ครูให้นักเรียนแยกย้าย สือค้นหาข้อมูลเรื่องมุม จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด เป็นต้น
ข้นเชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสืบค้นหาข้อมูลใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะกลับมารวมกันที่ห้องเรียนอีกครั้ง เพื่อจะมานำข้อมูลมานำเสนอกับเพื่อนๆ และคุณครูให้รับทราบข้อมูลจากนักเรียนแต่ะคน
ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามอย่างต่อเนื่อง 'ใครมีความคิดเห็น/ความหมาย แตกต่างจากเพื่อนบ้างครับ?'
ก่อนที่ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปหาความหมายของมุมแต่ละชนิดกัน เขียนไว้บนกระดาน
ครูทิ้งโจทย์การหาขนาดของมุมให้นักเรียนคิด ก่อนที่จะให้นักเรียนที่เข้าใจ โดยที่นำโจทย์ที่ให้หาคำตอบมาอธิบายให้ครูฟัง นักเรียนคนนั้นต้องสามารถประยุกต์ความรู้นำมาประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหานั้นได้
ขั้นใช้ : ครูให้นักเรียนทำงานการหาตัวแปรจากขนาดของมุมที่กำหนดให้ จากตัวแปรภายในมุมนี้มีขนาดเท่าใด?
ก่อนส่งงานทุกครั้งครูจะตรวจงาน ตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนแต่ละคน ด้วยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอธิบายในชิ้นงานนั้น เพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากงานของตัวเองอีกครั้ง.
ขั้นชง : ครูสอบถามความเข้าใจนักเรียนเรื่องมุม 'จากสิ่งที่ครูนำมาให้นักเรียนดูนี้ ทำไมของสิ่งนี้สามารถปรับขนาดของมุมได้ โดยเลือนไปตามขนาดที่ครูกางออกเรื่อยๆ ครูอยากทราบว่ามุมมีกี่ชนิด และคุณสมบัติของมุมแต่ละชนิด มีความหมายอย่างไรบ้าง?' (ครูนำไม้วัดมุม มาแนะนำนักเรียน พร้อมกางขนาดให้นักเรียนดู)
ครูให้นักเรียนแยกย้าย สือค้นหาข้อมูลเรื่องมุม จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด เป็นต้น
ข้นเชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสืบค้นหาข้อมูลใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะกลับมารวมกันที่ห้องเรียนอีกครั้ง เพื่อจะมานำข้อมูลมานำเสนอกับเพื่อนๆ และคุณครูให้รับทราบข้อมูลจากนักเรียนแต่ะคน
ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามอย่างต่อเนื่อง 'ใครมีความคิดเห็น/ความหมาย แตกต่างจากเพื่อนบ้างครับ?'
ก่อนที่ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปหาความหมายของมุมแต่ละชนิดกัน เขียนไว้บนกระดาน
ครูทิ้งโจทย์การหาขนาดของมุมให้นักเรียนคิด ก่อนที่จะให้นักเรียนที่เข้าใจ โดยที่นำโจทย์ที่ให้หาคำตอบมาอธิบายให้ครูฟัง นักเรียนคนนั้นต้องสามารถประยุกต์ความรู้นำมาประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหานั้นได้
ขั้นใช้ : ครูให้นักเรียนทำงานการหาตัวแปรจากขนาดของมุมที่กำหนดให้ จากตัวแปรภายในมุมนี้มีขนาดเท่าใด?
ก่อนส่งงานทุกครั้งครูจะตรวจงาน ตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนแต่ละคน ด้วยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอธิบายในชิ้นงานนั้น เพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากงานของตัวเองอีกครั้ง.
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เวลาชีวิตของหนู
นาฬิกาของหนู
นาฬิกาเป็นเครื่องมือในการบอกเวลา(ชั่วโมง นาที วินาที) นอกจากนาฬิกาแล้วยังมีนาฬิกาทราย ใช้จับเวลา, นาฬิกากะลา โดยนำกะลามะพร้าวมาเจาะรูวางลอยบนน้ำใช้จับเวลา ซึ่งระยะการลอยในน้ำ จนกว่าจะจมถือว่าหมดเวลา, นาฬิกาแดด เป็นการตั้งเครื่องมือเพื่อให้สังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยดูจากเงาของเครื่องมือ บางครั้งเราก็มีการบอกเวลาโดยใช้เครื่องมืออื่น ซึ่งไม่ได้เรียกว่าเป็นนาฬิกา เช่น การตีกลองบอกเวลาเพล ของพระสงฆ์, การตีฆ้องบอกเวลาของยาม หรือการยิงปืนบอกเวลา
เด็กๆได้เรียนรู้ที่มาของเวลา และการบอกเวลาเป็นภาษาพูดทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนักเรียนได้วาดรูปภาพนาฬิกา พร้อมบอกเวลาของนาฬิกาเรือนนั้น ซึ่งทำออกมาได้น่ารักมากค่ะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เด็กๆได้เรียนรู้ที่มาของเวลา และการบอกเวลาเป็นภาษาพูดทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนักเรียนได้วาดรูปภาพนาฬิกา พร้อมบอกเวลาของนาฬิกาเรือนนั้น ซึ่งทำออกมาได้น่ารักมากค่ะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
นาฬิกาบอกเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
แบบรูปและความสัมพันธ์(Patterning) : หาตัวแปรที่ขาดหายไปซิ ว่ามีค่าเท่าไร?
แบบรูปและความสัมพันธ์(Patterning) ในกิจกรรมของหน่วยการเรียนการสอนนี้ เป็นหน่วยที่จัดกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนให้ความสนใจดีมากครับ
การหาแบบรูปที่ซ่อนอยู่ หาตัวแปรที่หายไป
ครูผู้สอนสามารถ ประยุกต์กิจกรรมให้เป็นกิจกรรมการคิดควบคู่กันไปได้
บางชั่วโมงสามารถเปลี่ยนเป็นกิจกรรมเกมส์ 'การหาตัวแปรที่หายไป' ในช่องความลับของโจทย์ ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดช่วยกันหาคำตอบ แล้วเอามานำเสนอกัน ประชันกัน
การหาแบบรูปที่ซ่อนอยู่ หาตัวแปรที่หายไป
ครูผู้สอนสามารถ ประยุกต์กิจกรรมให้เป็นกิจกรรมการคิดควบคู่กันไปได้
บางชั่วโมงสามารถเปลี่ยนเป็นกิจกรรมเกมส์ 'การหาตัวแปรที่หายไป' ในช่องความลับของโจทย์ ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดช่วยกันหาคำตอบ แล้วเอามานำเสนอกัน ประชันกัน
ผมมีตัวอย่างการหาตัวแปรที่หายไปจากสมุดของนักเรียนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หลายระดับชั้นมาให้ชมครับ
ชึ่งก็เป็นโจทย์ที่แตกต่างกันออกไป มีอยู่หลายข้อที่คุณครูสามารถนำโจทย์นี้ นำไปปรับใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนของท่านได้ครับ
ตัวอย่างชิ้นงานจากสมุดของนักเรียน
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน
การสอนเรื่อง 'เศษส่วน' เป็นเรื่องที่ครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการอธิบาย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ และมักจะได้ยินคำถามที่ว่า
การลบเศษส่วน
2. ฉันมีขนมปัง 4/5 ชิ้น แบ่งให้น้อง 1/2 ชิ้น ฉันจะเหลือขนมปังเท่าไร?
"ทำไมต้องเมื่อเราเปลี่ยนการคูณเป็นการหาร ทำไมต้องกลับเศษเป็นส่วนด้วย"
"การหารเศษส่วนกับเศษส่วน ทำไมค่าจึงมักจะเพิ่มขึ้น"
"การบวกลบเศษส่วน ทำไมเราต้องทำส่วนให้เท่ากันก่อน จึงจะหาคำตอบได้"
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ เป็นการสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สาคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา(Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่(Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล(Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร(Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคาตอบเอง(Meta cognition) การสอนคณิตศาสตร์ที่นี้จึงให้ความสาคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคาตอบที่สาคัญกว่าคาตอบจริงๆ
ตัวอย่างชิ้นงานจากสมุดของนักเรียน
การบวกเศษส่วน
1. ฉันมีขนมปัง 2/5 ชิ้น แม่ให้อีก 1/3 ชิ้น รวมฉันมีขนมปังเท่าไร?การลบเศษส่วน
2. ฉันมีขนมปัง 4/5 ชิ้น แบ่งให้น้อง 1/2 ชิ้น ฉันจะเหลือขนมปังเท่าไร?
การคูณเศษส่วน
3. เพิ่มขนมปังทีละ 4/5 ชิ้น จำนวน 2/3 ชิ้น ฉันจะมีขนมปังเท่าไร?
การหารเศษส่วน
4. พ่อมีขนมปัง 8/9 ชิ้น แบ่งเป็นกลุ่มละ 1/2 ชิ้น จะได้กี่กลุ่มเหลือเศษเท่าใด?
ตัวอย่าง Clip VDO อธิบายการสอนเศษส่วน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)