วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คุณสมบัติของ 'มุม'

 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจ สาระที่ 2 : หน่วยมุมชวนหรรษา
   ขั้นชง : ครูสอบถามความเข้าใจนักเรียนเรื่องมุม 'จากสิ่งที่ครูนำมาให้นักเรียนดูนี้ ทำไมของสิ่งนี้สามารถปรับขนาดของมุมได้ โดยเลือนไปตามขนาดที่ครูกางออกเรื่อยๆ ครูอยากทราบว่ามุมมีกี่ชนิด และคุณสมบัติของมุมแต่ละชนิด มีความหมายอย่างไรบ้าง?' (ครูนำไม้วัดมุม มาแนะนำนักเรียน พร้อมกางขนาดให้นักเรียนดู)
ครูให้นักเรียนแยกย้าย สือค้นหาข้อมูลเรื่องมุม จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด เป็นต้น
 
   ข้นเชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสืบค้นหาข้อมูลใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะกลับมารวมกันที่ห้องเรียนอีกครั้ง เพื่อจะมานำข้อมูลมานำเสนอกับเพื่อนๆ และคุณครูให้รับทราบข้อมูลจากนักเรียนแต่ะคน
ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามอย่างต่อเนื่อง 'ใครมีความคิดเห็น/ความหมาย แตกต่างจากเพื่อนบ้างครับ?'
ก่อนที่ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปหาความหมายของมุมแต่ละชนิดกัน เขียนไว้บนกระดาน
ครูทิ้งโจทย์การหาขนาดของมุมให้นักเรียนคิด ก่อนที่จะให้นักเรียนที่เข้าใจ โดยที่นำโจทย์ที่ให้หาคำตอบมาอธิบายให้ครูฟัง นักเรียนคนนั้นต้องสามารถประยุกต์ความรู้นำมาประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหานั้นได้
   ขั้นใช้ : ครูให้นักเรียนทำงานการหาตัวแปรจากขนาดของมุมที่กำหนดให้ จากตัวแปรภายในมุมนี้มีขนาดเท่าใด?
ก่อนส่งงานทุกครั้งครูจะตรวจงาน ตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนแต่ละคน ด้วยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอธิบายในชิ้นงานนั้น เพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากงานของตัวเองอีกครั้ง.

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เวลาชีวิตของหนู

กิจกรรมเวลาชีวิตของหนู เพื่อให้นักเรียนบอกช่วงเวลานี้นักเรียนกำลังทำอะไร หรือกิจกรรมนี้ควรเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดของวัน ซึ่งชิ้นงานแบ่งเป็น 6 ช่อง 6 กิจกรรมที่เกิดขึ้น นักเรียนมีความตั้งใจในการสื่อสารกิจกรรมที่ทำ ออกมาเป็นรูปภาพได้น่ารักมากดังตัวอย่างค่ะ





นาฬิกาของหนู

นาฬิกาเป็นเครื่องมือในการบอกเวลา(ชั่วโมง นาที วินาที) นอกจากนาฬิกาแล้วยังมีนาฬิกาทราย ใช้จับเวลา, นาฬิกากะลา โดยนำกะลามะพร้าวมาเจาะรูวางลอยบนน้ำใช้จับเวลา ซึ่งระยะการลอยในน้ำ จนกว่าจะจมถือว่าหมดเวลา, นาฬิกาแดด เป็นการตั้งเครื่องมือเพื่อให้สังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยดูจากเงาของเครื่องมือ บางครั้งเราก็มีการบอกเวลาโดยใช้เครื่องมืออื่น ซึ่งไม่ได้เรียกว่าเป็นนาฬิกา เช่น การตีกลองบอกเวลาเพล ของพระสงฆ์, การตีฆ้องบอกเวลาของยาม หรือการยิงปืนบอกเวลา
เด็กๆได้เรียนรู้ที่มาของเวลา และการบอกเวลาเป็นภาษาพูดทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนักเรียนได้วาดรูปภาพนาฬิกา พร้อมบอกเวลาของนาฬิกาเรือนนั้น ซึ่งทำออกมาได้น่ารักมากค่ะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

นาฬิกาบอกเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1



วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แบบรูปและความสัมพันธ์(Patterning) : หาตัวแปรที่ขาดหายไปซิ ว่ามีค่าเท่าไร?

แบบรูปและความสัมพันธ์(Patterning) ในกิจกรรมของหน่วยการเรียนการสอนนี้ เป็นหน่วยที่จัดกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนให้ความสนใจดีมากครับ
การหาแบบรูปที่ซ่อนอยู่ หาตัวแปรที่หายไป
ครูผู้สอนสามารถ ประยุกต์กิจกรรมให้เป็นกิจกรรมการคิดควบคู่กันไปได้
บางชั่วโมงสามารถเปลี่ยนเป็นกิจกรรมเกมส์ 'การหาตัวแปรที่หายไป' ในช่องความลับของโจทย์ ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดช่วยกันหาคำตอบ แล้วเอามานำเสนอกัน ประชันกัน

ผมมีตัวอย่างการหาตัวแปรที่หายไปจากสมุดของนักเรียนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หลายระดับชั้นมาให้ชมครับ
ชึ่งก็เป็นโจทย์ที่แตกต่างกันออกไป มีอยู่หลายข้อที่คุณครูสามารถนำโจทย์นี้ นำไปปรับใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนของท่านได้ครับ


ตัวอย่างชิ้นงานจากสมุดของนักเรียน

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน

  การสอนเรื่อง 'เศษส่วน' เป็นเรื่องที่ครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการอธิบาย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ และมักจะได้ยินคำถามที่ว่า
"ทำไมต้องเมื่อเราเปลี่ยนการคูณเป็นการหาร ทำไมต้องกลับเศษเป็นส่วนด้วย"
"การหารเศษส่วนกับเศษส่วน ทำไมค่าจึงมักจะเพิ่มขึ้น"
"การบวกลบเศษส่วน ทำไมเราต้องทำส่วนให้เท่ากันก่อน จึงจะหาคำตอบได้"
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ เป็นการสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สาคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา(Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่(Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล(Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร(Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคาตอบเอง(Meta cognition) การสอนคณิตศาสตร์ที่นี้จึงให้ความสาคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคาตอบที่สาคัญกว่าคาตอบจริงๆ

ตัวอย่างชิ้นงานจากสมุดของนักเรียน
การบวกเศษส่วน
  1. ฉันมีขนมปัง 2/5 ชิ้น แม่ให้อีก 1/3 ชิ้น รวมฉันมีขนมปังเท่าไร?

การลบเศษส่วน
  2. ฉันมีขนมปัง 4/5 ชิ้น แบ่งให้น้อง 1/2 ชิ้น ฉันจะเหลือขนมปังเท่าไร?

การคูณเศษส่วน
  3. เพิ่มขนมปังทีละ 4/5 ชิ้น จำนวน 2/3 ชิ้น ฉันจะมีขนมปังเท่าไร?

การหารเศษส่วน
  4. พ่อมีขนมปัง 8/9 ชิ้น แบ่งเป็นกลุ่มละ 1/2 ชิ้น จะได้กี่กลุ่มเหลือเศษเท่าใด?

ตัวอย่าง Clip VDO อธิบายการสอนเศษส่วน

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรียนรู้คณิตศาสตร์ ตอน "นักออกแบบภาพไอโซเมตริก"

วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่เหล่า..นักสำรวจ..ของครูน้ำผึ้งจะเปลี่ยนอาชีพมาเป็น..นักออกแบบ..
เพราะเรื่องที่พวกเขาจะทำกิจกรรมในวันนี้คือการออกแบบภาพ 3 มิติ ลงในกระดาษไอโซเมตริก (เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนเรื่องรูปทรงเรขาคณิตคะ)
ซึ่งบอกได้คำเดียวว่า วันนี้ พี่ๆ ม.1 ณ.โรงเรียนนอกกะลาของเรา ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมคะ

ตัวอย่าง ภาพไอโซเมตริกสวยๆ จากนักออกแบบรุ่นจิ๋วคะ




.....กิจกรรมต่อไปพี่ๆ ม.1 จะทำกิจกรรมอะไรสนุกๆ อย่าลืมติดตามนะคะ...