วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

โมเดลแผนภูมิแท่ง 3

แผนภูมิแท่งแสดงจำนวนเก้าอี้ในชั้นเรียนชั้น ป.1-ป.6

โมเดลแผ่นภูมิแท่ง
แต่ละแท่งแสดงจำนวนเก้าอี้ในชั้นเรียนของพี่ป.1 ไปจนถึงชั้นเรียนของพี่ ป.6
ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน

สมาชิกผู้สร้างสรรค์ผลงานร่วมกันคือ
พี่ตุ๊กตา พี่อ้อแอ้ พี่สังวาล และพี่ต้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปสำรวจข้อมูลในชั้นเรียน ป.1-ป.6 เพื่อเก็บสถิติของจำนวนเก้าอี้ของนักเรียน แล้วนำเสนอข้อมูลโดยการสร้างตารางข้อมูล และแผนภูมิแท่งแสดงจำนวนทั้งหมด จากนั้นนำเสนอหน้าชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยน และสรุปความเข้าใจร่วมกัน

จินตนาการสร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์LPMP(ป.5)...

ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
week 2 ถึง week 3 ของ Quarter 4/53
     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำงานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการทางด้านคณิตศาสตร์(เป็นแบบรูปเล่ม)ทั้ง 27 คน
    นักเรียนทุกคนต้องเขียนออกแบบโครงเรื่องเนื้อหาที่จะจัดทำชุดความรู้ของแต่ละคนมานำเสนอครูผู้สอนก่อน ถ้านักเรียนคนใดนำเสนอผ่านแล้วครูก็จะแจกกระดาษ 1 ส่วน 8 ของกระดาษ 100 ปอนด์ ให้คนละ 2-4 แผ่น(ของพี่ๆ ป.5 จะแตกต่างกันจากของพี่ๆ ป.4 ) เพื่อให้นักเรียนนำกระดาษไปเย็บรวมเป็นรูปเล่มเตรียมจัด..

ลำดับกิจกรรมทำชิ้นงานสร้างสรรค์ของพี่ๆ ป.5
ขั้นตอนที่ 1  ศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
 
     อ่านศึกษาข้อมูลจากหนังสือหลายๆ เล่มในห้องสมุด ก่อนลงมือทำชิ้นงานของพี่โอม , พี่ตะวัน

     พี่กัน , พี่แนน ,พี่บีม(ภัค)พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประกอบกับหนังสือของแต่ละคน เสนอแนะงานให้เพื่อนๆ ว่าความปรับวิธีออกแบบงานอย่างไรกันบ้าง..

     พี่พลอยสนใจเรื่องเลขยกกำลัง แต่พยายามหาหนังสือคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาไม่เจอเนื้อหา เลยขอยืมคอมฯ คุณครูค้นหาข้อมูลเลขยกกำลัง(เลขยกกำลังไม่ได้อยู่ในเนื้อหาระดับประถม)

ขั้นตอนที่ 2 ลงมือออกแบบชิ้นงานสร้างสรรค์
     พี่ตะวัน เริ่มลงมือออกแบบทำชิ้นงานเป็นชุดความรู้ทางคณิตศาสตร์ พี่ตะวันมีความมุ่งมั่นทำงานได้ดีมากและมาขอกระดาษเพิ่มกับครูป้อมเกือบ 7-8 แผ่น..

     พี่บีม(ป) ออกแบบชุดความรู้เรื่องเวลาและการ์ตูนช่อง ผสมผสานชิ้นงานลงตัวสวยงามมากครับ

     พี่กระต่าย ออกแบบชุดความรู้เรื่องเวลาและความสัมพันธ์ การ์ตูนช่องลงท้ายรูปเล่มเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมากเลยทีเดียวครับ

     พี่หมวย ออกแบบชิ้นงานเป็นชุดความรู้เรื่องคุณสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม ทำงานได้ประมาณ 30% แล้วยังไม่เสร็จ ดูความตั้งใจของพี่หมวยแล้วครูป้อมเลยเพิ่มกระดาษให้อีก 1 แผ่น..

     ตัวอย่างชิ้นงานที่นักเรียนกำลังอยู่ทำใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบของรูปสามเหลี่ยม

    พี่ต่อ ออกแบบชิ้นงานการ์ตูนช่องเกี่ยวกับนักเดินทางคณิตศาสตร์ ความสุขใจในการทำชิ้นงานสร้างสรรค์นี้ พี่ต่อมุ่มมั่นตั้งใจทำมาขอกระดาษเพิ่มกับครูป้อมอีก 2-3 แผ่น..

    ปล. ตัวอย่างชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ของพี่ๆ ป.4 และพี่ๆ ป.5 อยู่ในบทความต่อไปนะครับ..

โมเดลแผนภูมิแท่ง 2

การนำเสนอข้อมูลโดยแผนภูมิแท่ง

นักเรียนแต่ละกลุ่ม เลือกสำรวจข้อมูลจากสิ่งที่ใกล้ตัว แล้วนำเสนอข้อมูลดังกล่าว
ออกมาในรูปของแผนภูมิแท่ง ในลักษณะของสามมิติ

การนำเสนอข้อมูลทางสถิติของนักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 3
ตารางข้อมูลพร้อมแผนภูมิแท่งในรูปของสามมิติ

สถิติของจำนวนนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
แสดงออกมาในรูปของจำนวนนักเรียนชายและจำนวนนักเรียนหญิง

แท่งสีม่วงแทนจำนวนนักเรียนชาย ส่วนแท่งสีเหลืองแทนจำนวนนักเรียนหญิงในแต่ละชั้นเรียน


สถิติของจำนวนนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
แสดงออกมาในรูปของจำนวนนักเรียนชายและจำนวนนักเรียนหญิง
แท่งสีม่วงแทนจำนวนนักเรียนชาย ส่วนแท่งสีเหลืองแทนจำนวนนักเรียนหญิงในแต่ละชั้นเรียน


สถิติของจำนวนหนังสือในมุมอ่านหนังสือในชั้นเรียน ป.1-ป.6
แสดงจำนวนหนังสือนิทาน เรื่องสั้น หนังสือทางวิชาการต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

จินตนาการสร้างสรรค์งานคณิตศาสตร์LPMP(ป.4)...

ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
week 2 ถึง week 3 ของ Quarter 4/53

    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำงานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการทางด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 29 คน
    ก่อนวันทำชิ้นงานจริงผมจะให้นักเรียนทุกคนลองสร้างโครงเรื่องที่จะสร้างสรรค์ให้ดูก่อน จากนั้นเมื่อครูตรวจเช็คดูแล้วว่าสามารถทำได้ครูแจกการกระดาษ 1 ส่วน 8 ของกระดาษ 100 ปอนด์ ให้นักเรียนเริ่มจัดทำชิ้นงานตามโครงร่าง..

    พี่เอินเอิน ทำการ์ตูนช่องเกี่ยวกับการเพิ่มของลำดับจำนวน เพิ่มทีละเท่าไร? เท่าไร?.. ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้พีชคณิตของชั้น ป.4 ชื่อเรื่อง "เงียบ"

   ระหว่างทำงานให้เพื่อนๆ ช่วยตรวจเช็คงานของเพื่อน ชี้แนะปรึกษากันได้ ผมจะย้ำนักเรียนเสมอว่าให้เพื่อนๆ ที่ทำงานเสร็จก่อนไปช่วยเพื่อนที่ยังทำงานไม่เสร็จนะครับ..

    ภาพตัวอย่างนี้จะเห็นว่าเป็นกระดาษโครงร่างที่ระบายสีเสร็จแล้วและกำลังจะเริ่มจัดทำชิ้นงานของจริงแล้ว

     การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ ผมเห็นนักเรียนทุกคนมีความตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นด้วยความมุ่มมั่น หลายคนขอนำกลับไปทำต่อที่บ้านและให้ผู้ปกครองช่วยตรวจเช็คชิ้นงาน รับลายเซ็นต์คุณแม่ คุณพ่อมาโชว์ให้เพื่อนๆ ดูด้วยความสุขใจของนักเรียนและคุณครูผู้สอนครับ..

เกมส์การคิด ประลองปัญญา


ในชั่วโมงการคิด


เกมส์การคิด ประลองปัญา กับ 7 ชิ้นมหัศจรรย์
ครูจัดนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3 คน แต่ละกลุ่มนั่งเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน
อุปกรณ์เล่นเกมส์
- ชุด 7 ชิ้มหัศจรรย์
- กระดาษ A4 หนึ่งแผ่น
- เครื่องเขียน
วิธีเล่นเกมส์
- นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องนำชิ้นส่วนทั้ง 7 ชิ้นของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มาจัดเรียงใหม่ให้เกิดเป็นรูปร่าง จำนวน 5 ภาพ จากนั้นยกมือให้ครูเข้ามาตรวจดู
- เมื่อครูสอบถามชื่อรูปภาพ แล้วนักเรียนลงมือวาดภาพจำลองรูปร่างเหล่านั้น ลงในกระดาษ A4 พร้อมระบายสีให้สวยงาม
- เมื่อครบทั้ง 5 ภาพนักเรียนจะต้องระดมการคิดร่วมกัน เพื่อหาวิธีการต่อชิ้นส่วนทั้ง 7 ชิ้นกลับคืนสู่รูปเดิม ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนการต่อจิ๊กซอร์
- เก็บชิ้นส่วนต่างๆ ใส่ซองส่งครู
- นำเสนอรูปร่างทั้ง 5 ภาพหน้าชั้นเรียน สรุปร่วมกันอีกครั้งในรูปที่ซ้ำและต่าง พร้อมส่งชิ้นงาน

7 ชิ้นแปลงร่างเป็นรูปไก่หางยาว ผลงานพี่ ป.1

7 ชิ้นแปลงร่างเป็นรูปปลากินปลา
ตัวละครเริ่มมีสองตัว เล่าเป็นเรื่องร่าวได้น่ารักดี ในขณะที่ถามชื่อผลงาน
นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงกับความรู้เก่าของตนเอง

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

โมเดลแผนภูมิแท่ง


การนำเสนอข้อมูลโดยแผนภูมิแท่ง

นักเรียนแต่ละกลุ่ม เลือกสำรวจข้อมูลจากสิ่งที่ใกล้ตัว แล้วนำเสนอข้อมูลดังกล่าว
ออกมาในรูปของแผนภูมิแท่ง ในลักษณะของสามมิติ

ลงมือสร้างโมเดลปริซึมสี่เหลี่ยม ตามขนาดของแต่ละแท่งข้อมูล

ติดแปะลงในรูปแผนภูมิแท่งที่วาดไว้


ผลงานงานใกล้จะเสมบูรณ์เหลืออีกสามแท่งค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ครอบครัวนักเดินทาง(เวลา)

Quarter 2 / 53 , สาระที่ 2 : การวัด
การบอกเวลาและความสัมพันธ์ของเวลา
 
 
    เรื่องเล่าก่อนสอนอีกเรื่องหนึ่งที่ท่านสามารถนำไปเล่าเชื่อมโยงก่อนเข้าสู่บทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้นในการสอนเรื่อง "เวลา" เมื่อครูเตรียมความพร้อมที่จะสอนให้นักเรียนดีแล้ว ลองใช้เรื่องนี้ไปเล่าเป็นเกร็ดความรู้ในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนรับฟังดูนะครับ
     เรื่องเล่าก่อนสอนเรื่องของเวลา "ครอบครัวนักเดินทาง" ..

ตั้งแต่ลืมตาดูโลก..
ก็พบว่าตนเองเดินได้แล้ว และต้องเดินตลอดเวลา
แม่ของวิที่เดินช้ากว่าบอกว่า “การเดินเป็นหน้าที่ การเดินทางเป็นชีวิตของพวกเรา ถ้าหยุดเดินเมื่อไหร่ ก็ตายเมื่อนั้น”
วิพบว่าตนเองเดินเร็วกว่าแม่เกือบ 60 ก้าว
ส่วนแม่ก็เดินเร็วกว่าพ่อซึ่งเตี้ย และอ้วน ประมาณ 60 ก้าว
แต่ครอบครัวของวิก็อบอุ่น เพราะทุก ๆ ชั่วโมงจะมาเจอกันพร้อมหน้าพร้อมตา
ไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่จะเจอกันเฉพาะตอนเย็นหรือวันหยุด
น่าเสียดายที่แม้ครอบครัวของวิ (นาที) จะเป็นนักเดินทางตลอดชีวิต


แต่ก็ไม่เคยที่จะเดินพ้นหน้าปัดนาฬิกาเลย...

     เมื่อครูผู้สอนเล่าเตรียมความพร้อมนักเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเป็นการสอนที่ง่ายยิ่งขึ้นมากในเรื่องการสอนเพื่อความเข้าใจในเรื่องของเวลา ซึ่งในเนื้อเรื่องครอบครัวนักเดินทางนี้ได้บอกถึงความสัมพันธ์ของเข็มนาฬิกาไว้ด้วยและจะทำให้นักเรียนกับครูมีมิติสัมพันธ์ในการเล่าเรื่องด้วยอีกทางเช่นกันครับ...

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ความเข้าใจเรื่องการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม

กิจกรรมสร้างความเข้าใจด้วยการปฎิบัติ

     ครูและนักเรียนสร้างข้อตกลงร่วมกัน ก่อนลงมือทำกิจกรรม ครูมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีความยาว 1 หน่วย เราให้ชื่อเขาว่า พี่ตารางหน่วย

   คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นรูปเรขาคณิตอะไรบ้าง ถ้านักเรียนต้องติดพี่ตารางหน่วย (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาว 1 หน่วย) ลงไป นักเรียนคิดว่าจะต้องใช้แต่ละรูปจำนวนเท่าไร ทั้งสองรูปต้องใช้จำนวนเท่าไร ก่อนการลงมือปฎิบัติจากสื่อจริง เพื่อสร้างความเข้าใจและหาคำตอบให้กับตัวเอง

     ครูจัดแบ่งนักเรียนจำนวน 28 คนออกเป็น 7 กลุ่ม กลุมละ 4 คน รับกระดาษใบงานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก พร้อมพี่ตารางหน่วย
(รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาว 1 หน่วย)

    นักเรียนลงมือติดพี่ตารางหน่วย (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาว 1 หน่วย) ลงให้เติมรูปเรขาคณิตทั้งสองรูป นักเรียนช่วยกันติด และช่วยกันหาวิธีการติดลงพื้นที่รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แล้วเขียนสรุปผลลงในช่องว่าที่กำหนดให้

     นักเรียนตรวจเช็คความถูกต้องภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอร่วมกันในชั้นเรียน เพื่อตรวจเช็คและหาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง




พี่ตารางหน่วย (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาว 1 หน่วย) เป็นกระดาษสีหน้าเดียว

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

สรุปองค์ความรู้ถ่ายทอดผ่าน Mind Mapping เรื่องแกนสมมาตร

สรุปองค์ความรู้ถ่ายทอดผ่าน Mind Mapping เป็นคู่


     ครูเตรียมความพร้อมของนักเรียน ผ่านการเสริมแรงขอบคุณคนที่น่ารัก และกลุ่มที่ยอดเยี่ยม
ทบทวนความเข้าใจจากนักเรียน ด้วยคำถามย้อนกลับเแกนสมมาตรคืออะไร มีลักษณะอย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร นักเรียนตอบด้วยความเข้าใจ คือเส้นตรงที่แบ่งรูปภาพออกเป็นสองส่วนที่เท่ากัน เมื่อพับจะทับกันได้สนิทพอดี สามารถสร้างภาพที่เท่ากันทั้งสองข้างเพียงการวาดแค่ครึ่งเดียว การแบ่งภาพที่มีแกนสมมาตรเป็นส่วนๆ ที่เท่ากันโดยไม่ต้องวัด ครูให้คำชื่นชมนักเรียนที่ร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมชื่นชมผู้ฟังที่ตั้งใจฟังเป้นอย่างดี

    ครูใช้คำถามย้อนกลับกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมา ได้เข้าใจเรื่องอะไรบ้าง นักเรียนยกมือนำเสนอร่วมกันในชั้นเรียน ครูช่วยเขียนข้อมูลลงบนกิ่งแก้วต่างๆ เช่นความหมาย รูปที่มีแกนสมมาตร 1 แกน รูปที่มีแกนสมมาตร 2 แกน รูปที่มีแกนสมมาตร 3 แกน รูปที่มีแกนสมมาตร 4 แกน และ รูปที่มีแกนสมมาตรมากกว่า 4 แกน

    จากนั้นนักเรียนจะได้ลงมือทำเป็นคู่เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อน เพื่อทบทวนและสรุปกิ่งก้อยร่วมกันออกมาเป็น Mind Mapping สรุปความเข้าใจเรื่องแกนสมมาตร
นักเรียนทั้งคู่ร่วมกันตรวจสอบ Mind Mapping พร้อมนำเสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในชั้นเรียน เพื่อสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน

การสำรวจข้อมูล

กิจกรรมยอดนักสืบจิ๋ว

ครูจัดนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม สำรวจข้อมูลดังต่อไปนี้

1. จำนวนนักเรียนที่มาเรียนในวันนี้ตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.6
2. จำนวนต้นไม้รอบอาคารเรียนประถมศึกษา 6 ชนิด
3. จำนวนโต๊ะเรียนชั้น ป.1-ป.6
4. จำนวนอุปกรณ์ภายในห้องเรียน 6 อย่าง
5. น้ำหนักและส่วนสูงของเพื่อนภายในกลุ่ม

นักเรียนแต่ละกลุ่มมีเวลา 15 นาที ในการช่วยกันสำรวจข้อมูลดังกล่าว แล้วกลับมาที่ห้องเรียน
เพื่อสร้างตารางสรุปข้อมูลที่ได้มา

นักเรียนร่วมกันสร้างตารางสรุปข้อมูล ที่ไปสำรวจมาภายในกลุ่ม ตรวจเช็คความถูกต้องกันก่อนนำเสนอเพื่อนในชั้นเรียน
แต่ละกลุ่มนำเสนอตารางสรุปข้อมูลจากการสำรวจ แลกเปลี่ยนคำถามและเสนอเพิ่มเติมหน้าชั้นเรียน จากนั้นทุกคนสรุปตารางต่างๆ ลงในสมุดของตนเอง
การบ้านให้นักเรียนทำการสำรวจอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านของตนเองจำนวน 10 อย่าง


ทิศและแผนผัง...

Quarter 2 / 53 , สาระที่ 2 : การวัด
การบอกชื่อทิศและการเขียนแผนผัง


    ในชั่วโมงเรียนเรื่องการบอกชื่อทิศและการเขียนแผนผัง ครูเล่าอธิบายถึงความสัมพันธ์ของเรื่องที่เรียนผ่านๆ มาให้นักเรียนบอกถึงการเชื่อมโยงกันของความรู้ที่นักเรียนได้รับไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์บทประยุกต์ที่คุณครูเตรียมมาให้ไว้แล้ว เช่น "ถ้าครูป้อมขายตู้เย็นราคา 28,700 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ครูป้อมขายได้กำไร 15% อยากทราบว่าถ้าครูป้อมจะขายให้ได้กำไร 23% ครูป้อมต้องขายตู้เย็นในราคากี่บาทครับ"
    เมื่อครูสอบถามทบทวนความรู้เดิมมาแล้ว ครูอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเรียกชื่อทิศ จากนั้นให้นักเรียนบอกชื่อทิศต่างๆ ที่นักเรียนรู้จัก ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนทั้ง 30 คน แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5-6 กลุ่ม ครูสร้างความเข้าใจในการค้นหาข้อมูลแล้วเวลานัดหมาย ครูให้นักเรียนไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเรียกชื่อทิศ(แหล่งหาข้อมูลของนักเรียน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด หนังสือที่ยืมคุณครู สอบถามผู้รู้ในบริเวณโรงเรียน)
    พอนักเรียนกลับมาห้องเรียนตามเวลาที่ครูนัดหมายครูให้นักเรียนนำข้อมูลออกมา Show & Share กับเพื่อนๆ ว่าเรียนได้ข้อมูลแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง..
อุดร - ทิศเหนือ
อิสาน - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
บูรพา - ทิศตะวันออก
อาคเนย์ - ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทักษิณ - ทิศใต้
หรดี - ทิศตะวันตกเฉียงใต้
ประจิม - ทิศตะวันตก
พายับ - ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สอนคณิตศาสตร์..ตามลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา(วงกลม ทรงกระบอก กรวย)

การสอนเพื่อความเข้าใจของทั้ง 3 เรื่อง
วงกลม ทรงกระบอก กรวย

1. เรื่อง..วงกลม
    เริ่มจากเรื่องวงกลม ครูให้นักเรียนเรียนรู้พื้นฐานเรื่องของวงกลม การสอนหาค่าพายหรือไพ(pi: π) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งค่าดังกล่าวจะมีค่าประมาณ 3.14 หรือ 22/7 นักเรียนทราบค่าดังกล่าวจากกระบวนปฎิบัติจริง นำอุปกรณ์ที่มีลักษณะวงกลมมาพร้อมกับเชือกมาวัดหาความสัมพันธ์ แล้วสร้างตารางเปรียบเทียบค่าที่ได้จากนักเรียนหลายๆ คน..
ภาพประกอบเรื่องวงกลมดังกล่าว เป็นภาพอธิบายส่วนประกอบของวงกลม

ภาพประกอบการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับวงกลม 
(นักเรียนหาค่ารัศมีจากการนำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมาหารสอง..)

2. เรื่อง..ทรงกระบอก
    เมื่อนักเรียนเรียนรู้ผ่านเรื่องวงกลมมาแล้ว ครูก็จะสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวงกลมกับทรงกระบอกได้อย่างง่ายดาย เพราะทรงกระบอกเกิดจากการนำวงกลมที่มีขนาดพื้นที่เท่ากันมาวางทับซ้อนกันก็กลายเป็นทรงกระบอก ถ้าจะหาปริมาตรก็เพียงนำสูตรพื้นที่วงกลมมาคูณกับขนาดของความสูงก็จะได้ปริมาตรของทรงกระบอก..

3. เรื่อง..กรวย
    ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องกรวยกับทรงกระบอก ครูเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้นักเรียนช่วยกันคิดตาม ครูพานักเรียนทดลองความหาขนาดความจุของทรงกระบอกโดยการตักทรายโดยใช้กรวยใส่ลงในทรงกระบอก(ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของปากและขนาดของความสูงของกรวยและทรงกระบอกต้องเท่ากันพอดีด้วยนะครับ) สรุปผลการทดลองก็คือ เราตักทรายโดยใช้กรวย 3 ครั้ง จะเต็มทรงกระบอกพอดี

    ทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว ถ้าครูสอนโดยบอกเฉพาะสูตรแล้วให้นักเรียนหาคำตอบให้เสร็จๆ ไปในแต่ละเรื่อง นักเรียนก็จะไม่เห็นการเชื่อมโยง ไม่เห็นที่มาของสูตรต่างๆ อย่างลึกซึ่ง...

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

สรุปความเข้าใจเรื่องแกนสมมาตร

ผลงานตามความเข้าใจ



การสรุปความรู้ความเข้าใจ ที่ได้เรียนมาในแต่ละเรื่อง นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้
และความเข้าใจ ในรูปแบบของ Mind Mapping เพื่อให้เห็นภาพโดยรวม นักเรียนจะนำเสนอความเข้าใจ ที่ละกิ่งแก้วที่ได้รับจากการผ่านการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจากสื่อจริง



ความเข้าใจโดยการผ่านการปฏิบัติ ความเข้าใจนั้นสามารถแตกยอด เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

เรื่องเล่าจากนักเรียน(คณิตศาสตร์น่ารู้)

ผลงานของพี่เก่ง ป.6 / 2553


    มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งเขาอยู่กับแม่ที่บ้าน วันหนึ่งเขาบอกแม่ว่า "แม่ครับ ผมอยากเรียนคณิตศาสตร์กับครูป้อม คนล่าฝัน" แม่เขาเลยให้เรียนเขาเลยได้ไปโรงเรียนเพื่อเรียนกับ "ครูป้อม คนล่าฝัน" เขาก็ได้ได้ตั้งนามแฝงให้ตัวเองว่า "คนล่าอนาคต"

ปล.พี่เก่งเป็นเด็กน้อยตัวเล็กๆ ผิวคล่ำๆ ชอบมาเรียนรู้คอมพิวเตอร์กับผมบ้างในบางเวลา ชอบเรียนคณิตศาสตร์ ผมให้เขียนเรื่องที่ชอบหรือประทับใจที่สุด ถ้าใครอยากแต่งเรื่องเองเลยก็ได้ในใบงานชิ้นนั้นด้านหลังใบงาน พี่เก่งก็เลยเขียนเรื่องนี้ขี้มาให้ครูป้อมตรวจในชั่วโมงนั้น อย่างสุขใจทั้งคู่ครับผม..

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมหาแกนสมมาตรของรูปเรขาคณิต


จับคู่หาแกนสมมาตรกันนะ



คำถามก่อนทำกิจกรรม ให้นักเรียนคาดเดาคำตอบ ของคำถามก่อนลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง
รูปเรขาคณิตต่างๆ จะมีแกนสมมาตรหรือไม่ ถ้ามีจะมีเท่าไร เหมือนกันทุกรูปหรือเปล่า แล้วรูปเรขาคณิตรูปใดน่าจะมีแกนสมมาตรมากที่สุด และรูปใดมีแกนสมมาตรน้อยที่สุด ?????

กิจกรรม
นักเรียนเลือกจับคู่ของตัวเอง
ทั้งคู่จะเริ่มวางแผนจะทำอะไรเป็นสิ่งแรก ใตรทำหน้าที่อะไรจึงจะลงตัวที่สุด
ตลงกันได้แล้ว นักเรียนจะร่วมลงมือด้วยกัน แลกเปลี่ยนกันระหว่างทำงาน
เมื่อหาแกนสมมาตรได้แต่ละรูป จะเกิดการตรวจเช็คกันเองภายในคู่
หาผลสรุปได้แล้วแลกเปลี่ยน และเช็คกับคู่ข้างๆ
นักเรียนนำเสนอ เแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆภายในห้องเรียน และคุณครูในสิ่งที่ได้มาท้ายชั่วโมง
เพื่อตรวจเช็คและหาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง




วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

นำเสนอนิทานแบบรูป

นำเสนอนิทานแบบรูปให้เพื่อนๆ ฟัง




นิทานที่ช่วยกันแต่งมา ถึงเวลาต้องนำเสนอให้เพื่อนๆ ฟังได้ความรู้เรื่องแบบรูป พร้อมกับความสนุกไปกับนิทานที่สร้างสรรค์ นิทานประกอบภาพวาดของ พี่ ป.3 เห็นถึงพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น และความเข้าใจในเรื่องที่เรียนรู้มา



จากนำเสนอนิทานแล้ว นักเรียนจะสรุปองค์ความรู้ต่างๆ ตามความเข้าใจ ความหมายของแบบรูป ตัวอย่างแบบรูปของรูปภาพเรขาคณิต แบบรูปของตัวเลข แบบรูปของตัวอักษร แบบรูปของเครื่องหมาย และแบบรูปของเหตุการณ์ที่เกิดในชีวิตประจำวัน เราเห็นเป็นประจำ เช่นกลางวัน กลางคืน ตามความเข้าใจของนักเรียนเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน และเห็นตัวอย่างที่หลากหลาย

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

เรื่องเล่าจากนักเรียน(คนล่าฝัน)

ผลงานของพี่กีตาร์ ป.4 / 2553


     มีครูคนหนึ่งชื่อ "ครูป้อม" เขาเป็นคนล่าฝันที่อยากเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่เก่งที่สุด แล้ววันหนึ่งมีคนมาเข้า google ไปหาคำว่า "ราชิต สุพร" // "ครูป้อม คนล่าฝัน" แล้วก็เจอจนได้ ครูป้อมก็เลยกลายเป็นคนล่าฝันของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา

ปล. ผมให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องตามจินตนาการของแต่ละคนออกมาสื่อให้คนอ่านเข้าใจ ให้เป็นการบ้าน ส่วนคำว่า "กุสุมา" ลานเซ็นต์ผู้ปกครองของนักเรียน ให้ช่วยตรวจเช็คคำถูกผิดให้ลูกๆ ก่อนส่งคุณครู..

นิทานพี่ ป.1

การประยุกต์ใช้แกนสมมาตร



นักเรียนนำความรู้และความเข้าใจจากแกนสมมาตร ประยุกต์ใช้กับจินตนาการของนักเรียน เพื่อสร้างสรรค์นิทานที่สนุกสนาน สร้างความบันเทิงให้กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน นักเรียนมีความสุขที่ได้แสดงความสามารถ และผู้ชมได้ความสุขจากการรับชม