วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อบรมคณิตศาสตร์ วันที่ 2

รายงานความคืบหน้าที่มาอบรมวันที่ 2 ครับ..

เล่าเรื่องราวที่มาอบรม..ผ่านภาพนิ่งครับ..
ช่วงเช้าอบรมโดย อาจารย์ ดร.ทรงชัย อักษรคิด (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
'สมบัติของเส้นขนาน ความเท่ากันทุกประการ และความคล้าย'
     3. วันนี้กิจกรรมที่ ดร.ทรงชัย นำมาสอนให้ครูคณิตศาสตร์ดู เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยดึงดูดความสนใจผู้เรียนโดยการปฏิบัติ และสอนผ่านเกมยอดนิยม 'ราชรถมาเกย' โดยยกตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับสมบัติต่างๆ ของรูปร่างที่นำเสนอ อธิบายโดยผ่านรูปแบบโปรแกรม GSP ในเรื่องของความเท่ากันทุกประการและความคล้าย

ความเท่ากันทุกประการ..
รูปเรขาคณิต 2 รูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ เคลื่อนที่รูปหนึงไปทับรูปหนึ่งได้สนิท(coincide)

ความคล้าย..
รูป n เหลี่ยม 2 รูปคล้ายกัน ก็ต่อเมื่อ
         1. มีขนาดของมุมเท่ากันเป็นคู่ๆ n คู่
และ  2. ความยาวด้านคู่ที่สมนัยกันเป็นสัดส่วนกัน

สมบัติของเส้นขนาน
เส้นตรง 2 เส้น ที่ลากไปเรื่อยๆ โดยมีระยะห่างเท่ากันเสมอ เส้นทั้ง 2 จะไม่ตัดกัน..

อาจารย์ยังฝากคำคมปิดท้าย..ถึงครูครับ..
"ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง วางแผนการสอนอย่างดี มีกิจกรรมทำอุปกรณ์ สอนจากง่ายไปหายาก วิธีสอนหลายหลากมากชนิด สอนให้คิดมากกว่าจำ สอนให้ทำมากกว่าท่อง แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร ต้องชำนาญการจูงใจ อย่าลืมใช้จิตวิทยา ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน ต้องผูกพันธ์ห่วงหาศิษย์ เฝ้าตามติดพฤติกรรม อย่าทำตัวเป็นทรราช สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว ประพฤติตัวตามที่สอน อย่าตัดรอนกำลังใจ ใช้เทคนิคการประเมิน ผู้เรียนเพลินมีความสุข ครูสนุกกับนักเรียน.."

ขอบคุณครับ..

 ช่วงบ่ายอบรมโดย อาจารย์ ดร.วิษณุ นภาพันธ์ (มหาวิทยาลัยทักษิณ)
'สมการและอสมการ การแก้สมการและอสมการ และกราฟ'
     4. อาจารย์ท่านนี้มีประสบการณ์สอนที่ดีมาก มีแง่คิดมากมายและได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของสมการและอสมการ มากยิ่งขึ้นครับ การนำรูปแบบกระบวนการสอนเพื่อความเข้าใจมาใส่ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน

มโนทัศน์สำคัญที่ต้องเชื่อมโยงให้เห็น
คำตอบของสมการ มีตัวเดียว ตีความตัวเดียว
คำตอบของอสมการ เป็นเซต ตีความเป็นเซต
คำตอบของระบบสมการ เป็นคู่ลำดับ ตีความเป็นคู่ลำดับ

สมการและอสมการ
โลกคณิตศาสตร์                                     โลกธรรมชาติ
- สมการ(เชิงเส้นตัวแปรเดียว)                 - จำลปัญหาจริงเป็นคณิตศาสตร์
- อสมการ(เชิงเส้นตัวแปรเดียว)               - แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
- สมการกำลังสอง                                - ตีความคำตอบทางคณิตฯเพื่ออธิบายปัญหาจริง
- ระบบสมกการ

รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ท้าท้ายสำหรับครู
วงจร..
กระตุ้นให้อยาก -- ลากไปสู่การสำรวจ -- ประกวดคาดเดา -- เร้าให้สร้างข้อสรุป --

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้จากอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ต่อไป..เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้เรียนครับ..
 

1 ความคิดเห็น: