วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิชา การคิด (เรียงกระป๋อง กับ แบ่งวงกลม)...

    การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์
เราสอนคณิตฯ ที่เป็น concept 4 ชั่วโมง(สาระที่ 1 - สาระที่ 5) และอีก 1 ชั่วโมง(สาระที่ 6) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอน 'การคิด'..

วิชา การคิด

  “ทำไมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
จึงได้สอนวิชาการคิดด้วย ทั้งที่โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีสอน ”
    ทุกคนล้วนอยู่กับการคิดทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เราหลับใหลหรือเราตื่น การคิดจึงเป็นสิ่งเริ่มต้นสอนให้เรารู้จักการแสวงหาสิ่งที่อยากเรียนรู้

มีหลายครั้งที่มีคนมาบอกผมว่าหลายศาสตร์ที่เรียนมาในวิชาคณิตศาสตร์ไม่เห็นจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันเลย? อาทิ เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส เป็นต้น เรื่องต่างๆ เหล่านี้ในสมัยเรียนอาจารย์ท่านเขี้ยวเข็ญให้เราเรียน ไม่เข้าใจก็ให้เราทำซ้ำๆ ซ้ำอีกหลายๆ ครั้งจนตาแทบลาย 
สรุปแล้วเมื่อออกมาเผชิญในโลกแห่งความเป็นจริงกลับไม่ได้ใช้ความรู้ที่ยากๆ เหล่านี้เท่าที่ควรเลย
   ช่วงที่ผมเรียนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกผมไว้ว่า เราได้นำศาสตร์ที่ยากๆ ของวิชาคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวันของหลายๆ คนเพียง 3% เท่านั้นเอง! แล้วที่เหลืออีก 97% ล่ะ เราจะได้นำมาใช้ตอนไหน??

หลายครั้งที่มีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ใจดีที่มาศึกษาดูงาน ถามผมว่า.. "ทำไมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ถึงได้สอนวิชาการคิดให้นักเรียน ทั้งๆ ที่หลายๆ โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีวิชานี้เลย?"
ผมตอบว่า.. "วิชาการคิดเป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ทุกระดับชั้นประถมศึกษาจะได้เรียนการคิดกับคุณครูชาญ(นายชาญณรงค์ วิเศษสัตย์) ซึ่งวิชาการคิดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของนักเรียน โจทย์คำถาม เนื้อหาในการสอนครูชาญก็จะใช้เนื้อหาที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น ผมเชื่อว่านักเรียนที่ได้เรียนรู้วิชาการคิดจะมีผลทำให้เขาเรียนรู้วิชาอื่นดีไปด้วย..
มีนักเรียนคนหนึ่งไม่ชอบเรียนวิชาอะไรเลย มีวันหนึ่งเขายกมือตอบคำถามคุณครูได้ก่อนใครและคำตอบนั้นถูกต้อง นักเรียนคนดังกล่าวที่ไม่เก่งวิชาอื่นอาจรู้สึกทันทีว่าตัวเองคิดเก่ง ผลของการตอบคำถามถูกในครั้งนั้นจะช่วยให้นักเรียนภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ทำให้กล้าคิดที่จะเรียนรู้อย่างอื่นไปด้วย..
มีงานวิจัยเขียนไว้ว่าการที่ครูผู้สอนสอดแทรกวิชาการคิดให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ในระดับสูงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยและมีงานวิจัยของอาจารย์ท่านหนึ่งชาวออสเตรเลียชื่อจอห์น เอ็ดเวิร์ด ได้ทดลองเพิ่มวิชาการคิดสอดแทรกเข้าไปในชั่วโมงเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยที่เอ็ดเวิร์ดเปรียบเทียบนักเรียนกลุ่มเดียวกัน ใช้วิธีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เต็มเวลาให้กับผู้เรียนเช่นครั้งที่ผ่านๆ มา ปรากฏว่าผลการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนครั้งที่สอนวิชาการคิดสอดแทรกในชั่วโมงสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกับทำคะแนนได้ดีกว่าการเรียนที่สอนวิทยาศาสตร์เต็มเวลา"..
   การสอนวิชาการคิดของครูชาญจะมีวิธีการสอนที่แตกต่างจากครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่ผมเคยเห็นมามากเลยทีเดียวครับ การสอนโดยใช้น้ำเสียงที่ไพเราะ(monotone) การสอนโดยสอนผ่านเพลงคลื่นสมองต่ำ การสอนโดยไม่เปรียบเทียบตัวผู้เรียน การสอนโดยใช้คนชมให้กับผู้เรียน การใช้เหตุผลในคำถามทุกคำถาม เป็นต้น 
  ผมชอบแนวการสอนนี้มาก แต่ตัวผมเองต้องใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้และเข้าใจให้ลึกถึงวิธีการสอน รูปแบบดังกล่าวอีกสักระยะ.. 
ผมเชื่อว่าถ้าคุณครูสอนการคิดสอดแทรกเข้าไปในทุกรายวิชา บางคาบอาจจะเป็นเกมผ่อนคล้ายให้นักเรียนเล่นในคาบการสอนวิชาไหนก็ได้หรือเป็นการทดลองโดยการปฎิบัติจริง จะทำให้ผู้เรียนได้รับการผ่อนคลาย จะทำให้ผู้เรียนกระหายที่จะเรียนรู้ เมื่อเขาเปิดพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วคุณครูก็จะสอนอะไรให้กับผู้เรียน เขาก็จะตื่นเต้นกระหายที่จะเรียน

ประเด็ญที่สำคัญยิ่งในการสอนวิชาการคิด ครูใหญ่(วิเชียร ไชยบัง) เคยบอกไว้ว่า.. "การที่นักเรียนตั้งคำถามสอบถามคุณครู ครูอย่าพึ่งบอกคำตอบให้กับเขา ครูควรใช้คำถามย้อนกลับในคำถามนั้นกับเขา ให้เขาได้ใคร่ครวญในคำตอบ สอนให้เขาคิดแสวงหาคำตอบด้วยตัวเอง 
ถ้าเกิดครูบอกคำตอบให้กับเขาเลยก็จะทำให้เขาเกิดความเคยชิน สุดท้ายแล้วเขาจะไม่คิดที่จะแสวงหาคำตอบเอง เพราะเขาจะคิดว่าอยากรู้อะไรเขาจะมารับคำตอบจากครูทุกครั้งไป"...


ตัวอย่างชิ้นงาน กิจกรรมการคิด..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น