วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานการคูณ ..... ฝึกฝนทักษะการคิด


ใบงานวัดความเข้าใจเรื่องการคูณ
การคูณนักเรียนจะเรียนรู้ จากสื่อจริงด้วยการหยิบจับสิ่งของเพิ่มทีละเท่าๆกัน จากการหยิบจับสิ่งของเป็นขั้นของการวาดภาพ การเพิ่มทีละเท่าๆกัน จากการวาดภาพนักเรียนจะเกิดภาพการคิดเกิดขึ้นในสมอง จากนั้นนักเรียนเริ่มใช้ตัวเลขแทนการวาดภาพ และมีเครื่องหมายการบวกตัวเลขเพิ่มทีละเท่าๆกัน

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สรุป Mind Mapping หลังเรียน(โจทย์ปัญหา)

Mind Mapping โจทย์ปัญหา
กระบวนการเรียนรู้ผ่านไป สิ่งที่นักเรียนต้องทำเพื่อทบทวนความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง คือการสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจผ่าน Mind Mapping นักเรียนได้ประมวลความเข้าใจเพื่อสรุปเป็นความรู้ ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นไม่เพื่อแค่การเข้าใจ แต่นักเรียนสามารถอธิบายให้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วย

โจทย์คณิต(ยังไม่เข้าใจ)ให้ทวนคิดคนละ 2 ข้อ

การมองเห็นภาพค่าพายหลังจากเด็กนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านความเข้าใจ

     ในคาบนี้ผมแจกแผ่นกระดาษหน้าเดียวให้นักเรียนทุกๆ คน ให้เลือกโจทย์ที่คิดว่ายังไม่เข้าใจถ่องแท้มาคนละ 2 ข้อ แล้วนำมา show&share กันกับครูและเพื่อนๆ เมื่อนักเรียนแต่ละคนได้โจทย์มาแล้วผมก็ให้นักเรียนทุกๆ ตกแต่งชิ้นงานผ่านความยากของโจทย์นั้น
     นักเรียนจะได้รับการอธิบายโจทย์ที่ยังไม่เข้าใจจากเพื่อนผู้รู้ในโจทย์ข้อนั้นและครูช่วยเสริมความเข้าใจให้อีกครั้งหลังจากเพื่อนผู้รู้ช่วยอธิบาย(เกิดภาวะการรู้ตัว) ให้นักเรียนแต่ละคนชักถามวิธีคิด ระหว่างเฉลยเสร็จทุกครั้งผมก็จะมีคำถามตรวจเช็คความเข้าใจจากนักเรียนบางคน(สุ่มเลือกนักเรียนทบทวนคำตอบ)  
     นักเรียนจะได้แสดงศักยภาพทางด้านการกล้าแสดงออก การนำเสนอวิธีคิดของตัวเองและตรวจเช็คคำตอบวิธีคิดของเพื่อนซึ่งอาจจะเป็นวิธีคิดที่แตกต่างหลากหลาย ส่งผลให้นำไปสู่ความเข้าใจในโจทย์ข้อนั้นๆ เพราะนักเรียนได้ค้นพบวิธีคิดที่เชื่อมโยงไปสู่คำตอบมากกว่า 1 วิธี เกือบทุกครั้งที่นำเสอนโจทย์ครับ สุดท้ายแล้วนักเรียนที่ค้นพบวิธีคิดที่หลากหลายเขาจะเลือกใช้วิธีคิดที่ง่ายที่สุดที่เขาเข้าใจมาเลือกทำในทุกครั้ง..
     
   ปล.โจทย์ข้อนี้ผมให้ทำส่งเป็นการบ้านพร้อมให้นักเรียนนำไปให้คุณแม่ คุณพ่อ หรือผู้ปกครอง ช่วยตรวจเช็คดูความเรียบร้อยของชิ้นงาน พร้อมให้ท่านเซ็นต์รับรองว่าตรวให้แล้วด้วย เช่นดังของพี่ฟ้า(วิ) ป.5 ก็มีลายเซ็นต์อยู่มุมบนด้านขวาครับ..

     ครูจะย้อนถามนักเรียนทุกครั้งหลังนักเรียนร่วมกันจากเฉลยเสร็จว่า "ใครมีวิธีคิดที่แตกต่างบ้างครับ?"

Concept การลบ


ทักษะการเรียนรู้ สู่ Concept การบวก
การสร้างความเข้าใจเรื่องการลบ นักเรียนจะเรียนผ่านสื่อจริงโดยชุดแผ่นร้อย เช่นมีจำนวนหนึ่งคือ 235 ต้องการหยิบออก 123 จะเหลือเท่าไร ให้นักเรียนได้ลองหยิบสื่อออกมา 235 แล้วให้หยิบออก /หรือหักออก 123 นักเรียนจะเหลือแผ่นร้อยกี่แผ่น แท่งสิบกี่แท่ง หน่วยจิ๋วกี่จิ๋ว เหล่านี้มีค่าเป็นเท่าไร เมื่อนักเรียนชำนาญจากการใช้สื่อจริง ให้นักเรียนวาดภาพแสดงการคิดแต่ยังคงใช้ภาษาธรรมชาติ เช่นมีอยู่ แล้ว หักออก /ตัดออก เหลือเท่าไร ลงในใบงาน concept การลบ นักเรียนจะเกิดความเข้าใจในการลบจำนวน

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Concept การบวก 2

ทักษะการเรียนรู้ ด้วยการวาดภาพแสดงการคิด
เพื่อความเข้าใจจากการออกแบบวาดภาพ แทนจำนวนในกรณีที่มีการทด นักเรียนมีเข้าใจเมื่อจิ๋วรวมกันได้ 10 จิ๋วจะกลายเป็นแท่งสิบ เมื่อได้คำตอบออกมานักเรียนรวมจิ๋วเป็นแท่งสิบเพิ่มในช่องหลักสิบ สามารถรู้ที่ไปที่มาของตัวทดได้โดยไม่ต้องท่องจำ ว่าหลักหน่วยเมื่อครบสิบให้ใส่ศูนย์แล้วทดหนึ่ง เช่นเดียวกันแท่งสิบเมื่อครบสิบแท่ง จะกลายเป็นแผ่นร้อยด้วยความเข้าใจ นักเรียนจะเกิดภาพการคิดในสมอง เพื่อสร้างความเข้าใจของค่าประจำหลักต่างๆ และการบวกคือการรวมกัน เพิ่มอีก ขอบคุณผลงานของพี่มายด์ ด.ญ.อินทิรา ยินดีชาติ นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

Concept การบวก 1

ทักษะการเรียนรู้ ด้วยการวาดภาพแสดงการคิด
เพื่อความเข้าใจ สืบเนื่องจากการปฎิบัติด้วยสื่อจริงแล้ว นักเรียนสามารถวาดภาพแสดงวิธีการคิด เข้าใจที่จะสร้างภาพแทนหน่วยจิ๋วด้วยรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ วาดรูปเหลี่ยมผืนผ้าแบ่งเป็นช่องเล็ก 10 ช่องแทนพี่แท่งสิบ และตารางสี่เหลี่ยมแทนพี่แผ่นร้อย เมื่อเกิดความชำนาญเข้านักเรียนจะเกิดภาพจินตนาการขึ้นในสมอง จะเข้าใจค่าประจำหลักต่างๆ ทำไหมตัวเลข 9 ที่อยู่ในหลักหน่วยจึงมีค่าน้อยกว่า เลข 5 ที่อยู่ในเลขหลักสิบ ไม่เพียงแค่นั้นนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้เรื่องการสร้างภาพ เพื่อใช้คิดวิเคราะห์ในการหาคำตอบ เข้าใจที่มาของคำตอบ เป็นพื้นฐานที่ดีในการใช้แก้ไขโจทย์ปัญหา
เช่นผลงานของพี่เพลง ด.ช.เจตณัฐ สวัสดี นักเรียนชั้นป.2 มีความเข้าใจในการวาดภาพแทนจำนวน วาดภาพแผ่นร้อยที่ไม่ต้องมีตารางถึงร้อยช่อง แต่เขาสร้างข้อตกลง กำหนดเงื่อนไขให้ตนเองได้ว่าเป็นแผ่นร้อยมีค่าเป็นหนึ่งร้อยนะ โดยไม่ต้องเสียเวลาวาดตารางถึงร้อยช่อง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทักษะการฟังจาก..เรื่องเล่าก่อนสอนคณิตศาสตร์

หนึ่งในเทคนิคในการเตรียมความพร้อมก่อนสอนคณิตศาสตร์

     เด็กๆ นักเรียนทุกคนชอบฟังเรื่องเล่าจากคุณครู ครูผู้สอนแต่ละคนอาจจะเทคนิคแตกต่างกันออกไปในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีสมาธิ คลื่นสมองต่ำพร้อมที่จะเรียนรู้ เมื่อเด็กอยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำแล้วครูก็จะนำเข้าสู่บทเรียน และเด็กก็จะได้เปิดรับความรู้จากครูผู้สอนอย่างเต็มที่
     หนึ่งในเรื่องเล่านิทานแง่คิด "ลิงกับลา" เรื่องดีๆ มีสาระนำมาเล่าให้นักเรียนสดับรับฟังแล้วถามแง่คิดจากนิทานจากนักเรียนทุกๆ คน เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการเตรียมความพร้อมได้ดี เรื่องที่นำมาเล่าถ้าสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังจะสอนจะดีมากเลยทีเดียวครับ..

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การวัดความยาวด้วยสายวัด


การเรียนรู้จากการปฎิบัติโดยใช้สื่อจริง
จะยาวเท่าไรนะ ? การเรียนรู้เรื่องการวัดความยาว ด้วยเครื่องมือวัดที่มีหน่วยมาตรฐาน นักเรียนเลือกเครื่องมือการวัด ต่อสิ่งของที่อยากรู้ความยาว เช่นการใช้สายวัดเพื่อวัดเอว ข้อมือ ลำคอ เพราะนักเรียนได้เรียนรู้จากการใช้ไม้บรรทัด ไม่สามารถวัดสิ่งที่มีความกว้างได้โดยตรง สิ่งที่เหมาะสมที่สุด คือเครื่องมือวัดที่สามารถโค้งตามเส้นโค้งได้ดีคือสายวัด จากนั้นมาลองเรียนรู้การวัด ด้วยการวัดสิ่งใกล้ตัวกันดีกว่า

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบรูป 2


ความเข้าใจเรื่องแบบรูปของความสัมพันธ์

เมื่อนักเรียนเห็นแบบรูปและความสัมพันธ์ของแบบรูป แล้วนักเรียนสามารถเชื่อมโยงแบบรูปที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันของตัวนักเรียนได้ บอกแบบรูปซ้ำๆ เช่น กลางวัน - กลางคืน การเดินของเข็มนาฬิกา ฤดูที่เกิดขึ้นในหนึ่งปี ฤดูร้อน - ฤดูฝน - ฤดูหนาว รูปบนพื้นผ้า ลายผ้าไหมบนผ้าถุงของคุณแม่ ลวยลายบนผ้าเช็ดหน้า ต่างๆ มากมายที่นักเรียนได้สัมผัสและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ครูจึงจำลองสถานการณ์ให้นักเรียนทำลายบ้นผ้าเช็ดหน้าของนเอง เพื่อนำรูปแบบต่างๆ ทั้งตัวเลข รูปภาพ และรูปเรขาคณิต มาสร้างสรรค์ตามจินตนาการของตนเองลงบนกระดาษ A4 เช่นผลงานของพี่โชค ด.ช.กมนภู สวาทรัมย์ นักเรียนชั้น ป.3 ที่แฝงไปแบบรูปต่างๆมากมายตามจินตนาการ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คณิตศิลป์ช่วงชั้นที่ 1 ภาพที่ 1


คณิตศิลป์เสริมสร้างจินตนาการเพิ่มมิติสัมพันธ์ให้กับนักเรียน
ครูนำผลงานของพี่ช่วงชั้นที่ 2 ให้นักเรียนดู นักเรียนเห็นครั้งแรกบอกว่าสวยมากอยากทำได้เหมือนพี่จัง จากการที่ครูให้นักเรียนมองและสังเกตุภาพของพี่ แล้วมาเสนอวิธีการทำร่วมกันกับเพื่อนๆ ในห้องแลกเปลี่ยนกันจนเข้าใจ คนที่เข้าใจอธิบายให้เพื่อนที่ยังสังสัยได้เข้าใจ เมื่อนักเรียนเกิดความรู้สึกอยากทำได้เหมือนพี่ ครูให้นักเรียนได้ลองทำดูจากการฝึกทำทีละคนในชิ้นงานของตนเอง เมื่อนักเรียนเข้าใจการสร้างครูให้นักเรียนจับกลุ่ม 3 คนเพื่อแลกเปลี่ยนกันและร่วมมือกันสร้างผลงานแผ่นใหญ่ เช่นกลุ่มของพี่เพลง พี่ชมพู่ และพี่บีท ค่ะ

บ้านน้อยของหนู


กิจกรรมเสริมสรรค์จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
กิจกรรมเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ลองออกแบบรูปทรงต่างๆ ด้วยตนเองทุกคน เพื่อออกมาเป็นชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์หนึ่งชิ้น ซึ่งให้นักเรียนได้ฝึกคิดสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการทุกคน โดยไม่กำหนดให้นักเรียนจับคู่หรือรวมกลุ่มกัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกระบวนการทำงาน เหมือนนักเรียนได้ลงมือกระทำแล้ว เขาจะเรียนรู้ได้เองว่าถ้างานที่ทำออกมาเพียงคนเดียว นั้นอยากมากที่จะได้ออกมาแต่ละชิ้น และต้องใช้เวลานานพอสมควรต่อการทำงาน นักเรียนจะต้องหาเพื่อน เพื่อรวมผลงานประกอบเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์ เช่นเดี่ยวกับงานของ ..กุลปรียา สิงห์โพนทัน (พี่ชมพู่) กับ ..วนัสนันท์ ศรีสืบมา (พี่หมิว) นักเรียนชั้น ป.2

การจัดสรรเงิน 1,000,000 บาท..

เด็กหญิงนิตต์ชญาณ์ สงวนรัมย์(พี่ออม) ชั้น ป.5 เลขที่ 14 

     พี่ออมพึ่งเอาชิ้นงานมาส่งผมเมื่อเช้านี้เอง(เพราะสัปดาห์ที่แล้วป่วย) วันแต่ก็ยังติดตามทำงานค้างมาส่งคุณครู แถมยังใจดีแบ่งเงิน 10,000 บาท เพื่อซื้อทีวีจอยักษ์ให้ครอบครัว..
     ความปรารถณาดีที่จะมอบให้ของน้ำใจของนักเรียนแต่ละคน สะท้อนออกมาจากงานชิ้นนี้ การจัดลำดับความสำคัญเรื่องเงิน นักเรียนบางคนเก็บเงินไว้เป้นทุนการศึกษาให้กับตัวเองและน้องๆ บางคนปลูกบ้านให้คุณพ่อ คุณแม่ ซึ่งเป็นความงอกงามทางด้านจิตวิญญาณที่จะปรารถณาที่จะเป็นผู้ให้..

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่องเล่าก่อนสอน..เรื่องที่ 1

การโน้มน้าวให้นักเรียนสนใจในการเรียนในแต่ละคาบ..

     ในบางครั้งที่สอนคณิตศาสตร์ครูผู้สอนจะมีการเตรียมความพร้อมนักเรียนให้นุกนพร้อมที่จะเรียนในชั่วโมงนั้นๆ อาจจะมีหลากหลายเทคนิคของครูแต่ละคนแตกต่างกันออกไป
     การนำเรื่อนิทานแง่คิดหรือเรื่องเล่าที่เป็นประโยชน์มาให้นักเรียนฟังแล้วเสมอมุมมองทางความคิดของนักเรียนก็ถือว่าเป็นสิ่งดีๆ อย่างยิ่งที่ครูจะได้สัมผัสเห็นมุมมองแง่คิดจากนักเรียน บางคนครูอาจจะไม่เคยเห็นเขาเสนอความคิดเห็นมาก่อน แต่พอมาฟังเรื่องเล่าที่เขาชอบแล้วในเวลาเรียนคาบนั้นเองเขาอาจจะกลายมาเป็นคนที่ชอบเรียนวิชานนั้นกับครูคนนั้นขึ้นมาทันทีก็ได้นะครับ
     เรื่องที่ผมยกตัวอย่างนี้ชื่อเรื่อง "ยายทีเป็นปอบ" พอเล่าเรื่องเสร็จประมาณ 2 ถึง 3 นาที จากนั้นก็ให้นักเรียนเสนอแง่คิดของเรื่องที่รับฟัง แล้วท้ายชั่วโมงครูฝากเป็นการบ้านให้นักเรียนสรุหเรื่องเล่า(เพื่อดูทักษะทางด้านการฟังของนักเรียนแต่ละคน) ให้นักเรียนไปเล่าเสนอผู้ปกครองแล้วให้ผู้ปกครองเซ็นต์รับทราบพร้อมตรวจเช็คคำถูก-คำผิดให้ลูกๆ นักเรียนอีกด้วย ให้เกิดความรักความสามัคคีของครอบครัวของนักเรียนอีกทางครับผม..

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบรูป


ความเข้าใจเรื่องแบบรูปของความสัมพันธ์
การมองเห็นแบบรูปของความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อจริง โดยการนำตัวนับมาจัดเรียงต่อกันด้วยความสัมพันธ์แบบใดแบบหนึ่ง จากนั้นให้นักเรียนหารูปที่อยู่ถัดไป หรือรูปที่อยู่ระหว่างแบบรูปชุดนั้น ครูตั้งคำถามนักเรียนรู้คำตอบได้อย่างไร ดูการเรียงอย่างไร มีความสัมพันธ์กันแบบไหน และนักเรียนสามารถวาดออกมาเป็นภาพ พร้อมกำหนดแบบรูปที่มีความสัมพันธ์ด้วยตนเอง เช่นความสัมพันธ์ของสี ชนิดของรูป ขนาดของรูป และข้อกำหนด ของการสลับตำแหน่ง การหมุนรูป ได้

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คณิตศิลป์เกิดจากจิตนาการ..ภาพที่ 1

 การสร้างสรรค์ผลงานคณิตศิลป์จากจิตนาการ..
    ผลงานของพี่บีม(อ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผมแจกกระดาษ A4 ให้ไปทำเป็นการบ้านโดยไม่ได้ให้นักเรียนดูรูปตัวอย่างหรือสอนขั้นตอนการทำ เพราะนักเรียนทุกคนเคยทำมาก่อนแล้วเมื่อครั้งเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
     งานชิ้นนี้มีหลายมิติในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดทักษะการมองเห็นภาพ ซึ่งพี่บีม(อ)เขาต้องคิดคำนวณระยะห่างของขอบเส้นและการกำหนดช่วงของรูปร่างสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาจากความคิดสร้างสรรค์ที่เยี่ยมยอดมากเลยครับ
     ส่วนด้านหลังงานให้นักเรียนเขียนตอบการบ้านวันละ 5 ข้อ แล้วก็สิ่งที่ทำได้ดีแล้วและสิ่งที่จะนำไปปรับปรุงในครั้งต่อไปครับ ประเด็นสำคัญของการบ้านนี้ก็คือให้นักเรียนนำการบ้านดังกล่าวไปให้ผู้ปกครองตรวจเช็คคำถูกผิดและตรวจชิ้นงานช่วยลูกๆ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในครอบครัวอีกด้วยครับ...

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปืนของเล่นของผม


การประดิษฐ์ผลงานจากกระบวนการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิต 3 มิติ
นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานด้วยความตั้งใจ นำความรู้ที่มีคิดเชื่อมโยงเป็นสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับผลงานของพี่โชค ด.ช.กมนภู สวาทรัมย์ นักเรียนชั้น ป.3 สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการเป็นปืนของเล่นที่น่ารัก วันที่ส่งผลงานมีรอยยิ้มมาให้ครูอย่างภาคภูมิใจในผลงาน และได้รับคำชื่นชมจากครูว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลงานคณิตศาสตร์


บอร์ดคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
เพื่อติดผลงานที่เกิดจากการเรียนการสอนของนักเรียน แสดงชิ้นงานของนักเรียนที่ออกมาในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากชิ้นงานในสมุดเรียน การติดชิ้นงานนั้น จะเป็นผลงานของนักเรียนทุกคน เพื่อเป็นการชื่นชมในผลงาน และแลกเปลี่ยนความรู้หรือกิจกรรมกับเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆ ที่สนใจ

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รูปสวยด้วยจุดและเส้น


กิจกรรมเสริมสร้างจินตนาการ และมิติสัมพันธ์

นักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อผลงานหนึ่งชิ้นที่สมบูรณ์

หุ่นยนต์กระต่ายขายหมวก


เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อมิติสัมพันธ์ที่ดีในตัวเด็กนักเรียน
ผลงานจาก ..วณพันธ์ โสรี (พี่เดียร์) นักเรียนชั้นป.3 สร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นหุ่นยนต์กระต่ายขายหมวก ครูมองเห็นพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์กระต่ายจากเรขาคณิต 3 มิติ ซึ่งให้นักเรียนทำเป็นการบ้านวันเสาร์ - อาทิตย์ ให้นักเรียนมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อผลงานที่สมบูรณ์ เป็นผลงานที่น่ารักมากๆ ค่ะ

สิ่งประดิษฐ์จากเรขาคณิต


เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อมิติสัมพันธ์ที่ดีในตัวเด็กนักเรียน
ผลงานจาก ..จักรวรรดิ พยัคฆะ (พี่ปังปอนด์) นักเรียนชั้นป.2 สร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นรถยนต์ ครูมองเห็นพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์ การนำกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ จำนวนสองกล่อง มาประกอบกันเป็นกระบะรถยนต์ กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ขนาดต่างกันชิ้นใหม่เป็นหัวรถ ชิ้นเล็กกว่าเป็นสิ่งของที่รถต้องบรรทุก และมีหมวกให้รถยนต์ใส่ด้วยน่ารักมากๆ ค่ะ

สิ่งประดิษฐ์จากเรขาคณิต


เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อมิติสัมพันธ์ที่ดีในตัวเด็กนักเรียน
ผลงานจาก ..มณทิรา ม่วงรัตน์ (พี่โฟกัส)นักเรียนชั้นป.3 สร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นหุ่นยนต์คุณหนู ชื่อแอนนี่ นักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานชิ้นนี้มากค่ะ

การบ้านเรขาคณิต 3 มิติ

สิ่งประดิษฐ์เสริมสร้างจินตนาการและความคิดที่สร้างสรรค์ของเด็กๆ
เป็นการบ้านที่นักเรียนได้รับมอบหมาย ให้กลับไปคิดซึ่งเป็นกระดาษ A4 เพียงหนึ่งแผ่น สร้างผลงานที่ได้คิดต่อเติมเองโดยไม่มีตัวอย่างให้ดู แบบจำนวน 7 ชิ้นจะประกอบเป็นอะไรได้บ้าง นักเรียนต้องสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง และมีผู้ปกครองเคยแนะนำในการทำงาน

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การแทนค่าตัวแปร


การแทนค่าตัวแปร
การสร้างเงื่อนไขในการกำหนดค่าให้ตัวแปรที่เราต้องการ เพื่อเชื่อมโยงความรู้ในการแปลงค่าตัวแปร ตามเครื่องหมายเพื่อหาคำตอบ ส่งผลให้นักเรียนรู้จกการเชื่อมโยง

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลักษณะของเรขาคณิต 2 มิติ




สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
นักเรียนศึกษาลักษณะของรูปเรขาคณิตแต่ละรูปเป็นกลุ่มแล้ว แลกเปลี่ยนความรู้โดยการนำเสนอ เพื่อจัดเรียงองค์ความรู้ให้สมบูรณ์ที่สุด นักเรียนจะสรุปความรู้ต่างๆ ทบทวนสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็น Mind Mapping

เรขาสร้างสรรค์




เรขาคณิต 3 มิติ สร้างสรรค์
สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ โดยใช้ความเข้าใจเรื่องเรขาคณิต 3 มิติ ลงมือสร้างแบบด้วยตัวเอง ตัด พับ ติด สร้างเป็นผลงาน จากทำเพียงหนึ่งคนเมื่อเวลาผ่านไป ได้เรียนรู้ว่าต้องใช้เวลาในการทำนานต่อผลงานหนึ่งชิ้น จึงของรวมสองคน หรือสามคนเพื่อเป็นผลงานกลุ่มที่ครบสมบูรณ์ ครูเพียงแนะนำในการแก้ไขแบบที่ไม่ได้รูปตามเป้าหมาย โดยมีนักเรียนแก้ไขจนได้รูปที่ต้องการ

กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส


กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส
หน้าตารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นอย่างไร ? มีลักษณะพิเศษอะไรถึงได้ชื่อว่าสี่เหลี่ยม จัตุรัส ? อ๋อ เพราะว่าเขามีสี่ด้านที่เท่ากัน มีมุมที่ตั้งฉากทุกมุมนี่เอง แล้วถ้าสี่เหลี่ยมรูปนี้มากลายเป็นกล่องเขาจะมีกี่ด้านนะ คิดๆ ขอมือคนน่ารักตอบคำถามหน่อยค่ะ สี่ด้านครับ ดีมากค่ะด้านไหนบ้างค่ะ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างอีกสองด้านครับ ขอบคุณมากค่ะ มีใครเสนอเพิ่มเติมต่อจากเพื่อนอีกไหมค่ะ หนูว่าน่าจะมีด้านบนกับด้านล่างอีกนะค่ะ ดีมากค่ะ เพราะอะไรค่ะ ด้านบนเป็นฝาส่วนด้านล่างก็เป็นก้นกล่องค่ะ เยี่ยมมากค่ะ นักเรียนจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันก่อนออกแบบเป็นรูปกล่อง ที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมด 6 รูป เป็นการสร้างความเข้าใจและฝึกมิติสัมพันธ์ทางการคิด ของนักเรียนไปพร้อมๆ กัน

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรขาคณิต 3 มิติ


กิจกรรมสร้างความเข้าใจ เรขาคณิต 2 มิติ สู่ เรขาคณิต 3 มิติ
ครูมีแบบต่างๆ ให้นักเรียนดูและลองสร้างภาพดูว่า เมื่อประกอบรูปแล้วจะออกมาเป็นรูปทรงอย่างไร
จากนั้นให้นักเรียนลองสัมผัสและประกอบดู เมื่อมีความเข้าใจในแบบรูปเรขาคณิต 3 มิติ ครูให้นักเรียนฝึกการสร้างแบบลงในสมุดเพื่อสร้างความเข้าใจในการออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ นักเรียนมีความสุขกับการออกแบบและตั้งใจทำชิ้นงาน ครูใช้คำชื่นชมผลงานและความตั้งใจในการทำงานเช่นเดียวกับพี่ป. 2 แม้เป็นเพียงในสมุดแต่ก็ตั้งใจทำผลงานอย่างเต็มที่

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเข้าใจจำนวน 1-100


ทักษะการเรียนรู้ ด้วยการลงมือปฎิบัติจริง
การใช้สื่อจริงเพื่อสร้างความเข้าใจ เด็กได้สัมผัสโดยผ่านการเล่นเกมสร้างความสนุกสนานและน่าเรียนรู้ ก่อนการเล่นเกมนักเรียนทุกคนจะต้องรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม คือ ชุดแผ่นร้อยที่ประกอบไปด้วยพี่หน่วยจิ๋ว มีค่าเป็น 1 ถ้าเรานำพี่หน่วยจิ๋วมาวางเรียงกัน 10 พี่หน่วยจิ๋วซึ่งมีความยาวเท่ากับแท่งพอดี จึงขอเรียกพี่แท่งสิบแทนมีค่าเป็น 10 แล้วเมื่อเด็กลองวางพี่แท่งสิบเรียงกันได้ 10 แท่งปรากฎว่ามีขนาดเท่ากับพี่แผ่น นักเรียนคิดว่าเราจะตั้งชื่อว่าอะไรดี... อ่อได้ชื่อแล้วเป็นพี่แผ่นร้อยนี้เอง ซึ่งพี่เขามีค่าเป็น 100 เช่นเดียวกันเด็กๆเยี่ยมมากค่ะ

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรขาคณิต 2 มิติ(รูปสามเหลี่ยม)


กิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจลักษณะของรูปเรขาคณิต 2 มิติ
ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อศึกษารูปสามเหลี่ยมที่แตกต่างกัน 5 รูป
1. สามเหลี่ยมมุมฉาก
2. สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
3. สามเหลี่ยมมุมป้าน
4. สามเหลี่ยมด้านเท่า
5. สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
ให้ นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตและวัดรูปสามเหลี่ยมที่ได้รับมอบหมาย เพื่อบอก ชื่อของรูปสามเหลี่ยม ลักษณะของมุม และด้านทั้งสามด้าน นักเรียนระดมความคิดและพูดคุยกันในกลุ่มเขียนสรุปข้อมูลลงกระดาษ ครูให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาเขียนข้อมูล และนำเสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนเห็นความแตกต่างและลักษณะเพิ่มเติม นักเรียนทุกคนสรุปองค์ความรู้ต่างๆ ลงในสมุดอีกครั้ง

เรขาคณิต 2 มิติ(รูปสี่เหลี่ยม)


กิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจลักษณะของรูปเรขาคณิต 2 มิติ
ครูจัดนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อศึกษารูปสี่เหลี่ยมที่แตกต่างกัน 5 รูป
1. สี่เหลี่ยมจัตุรัส
2. สี่เหลี่ยมผืนผ้า
3. สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
4. สี่เหลี่ยมคางหมู
5. สี่เหลี่ยมรูปว่าว
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตและวัดรูปสี่เหลี่ยมที่ได้รับมอบหมาย เพื่อบอก ชื่อของรูปสี่เหลี่ยม ลักษณะของมุม และด้านทั้งสี่ด้าน นักเรียนระดมความคิดและพูดคุยกันในกลุ่มเขียนสรุปข้อมูลลงกระดาษ ครูให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาเขียนข้อมูล และนำเสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนเห็นความแตกต่างและลักษณะเพิ่มเติม นักเรียนทุกคนสรุปองค์ความรู้ต่างๆ ลงในสมุดอีกครั้ง

เรขาคณิตกับชีวิต


กิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ
สิ่งของใดบ้างที่มีลักษณะคล้ายกับรูปเรขาคณิต ? นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
อะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลม ?เช่น ลูกบอล แตงโม ลูกออม ลูกโลก ...
แล้วอะไรบ้างที่มีลัษณะเป็นรูปวงรี ?เช่น ไข่ จาน ถ้วย ยางลบ แตงกวา ...
อะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ?เช่น กระดาษ กระดาน สมุด หนังสือ นาฬิกา ...
อะไรบ้างที่มีลัษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ? นาฬิกา หนังสือ
แล้วอะไรบ้างที่มีลัษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ? กระดาษ กระดาน สมุด
อะไรบ้างที่มีลัษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ?เช่น หลังคาบ้าน ขนม บ็อคไม้ ไม้บรรทัด ...
ครูเขียนกระดาษเพื่อจัดลำดับองค์ความรู้ให้กับนักเรียน เสริมแรงด้วยคำชม และให้กำลังใจ
แล้วให้นักเรียนนำความรู้จัดเรียงใหม่เป็นความเข้าใจของตนเองโดยการสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping