วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรขาคณิต 1 มิติ(เส้นสร้างภาพ)

กิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
โดยสร้างภาพที่เกิดจากเส้นต่างๆ เพื่อวัดความเข้าใจเรื่องเส้นต่างๆ
มีความเข้าใจว่าเส้นทำให้เกิดรูปร่างและภาพ เสริมสร้างจินตนาการด้วยเส้น
เชื่อมโยงเรขคณิต 1 มิต เป็นเรขาคณิต 2 มิติ การการลงมือทำเพื่อความเข้าใจ
ผลงานของ ด.ช.เจตณัฐ สวัสดี พี่เพลง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

เรขาคณิต 1 มิติ(จุดสร้างสรรค์)

กิจกรรมสร้างความเข้าใจและเสริมสร้างจินตนาการด้านการคิด
ครูให้นักเรียนใช้สีชอร์กจุดลงทีละจุลงบนกระดาษสีขาว เป็นรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการของตัว
นักเรียนเอง จากกิจกรรมนักเรียนจะเกิดวามเข้าใจเรื่องจุดหลายๆ เรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น
แล้วเส้นหลายๆเส้นเรียงติดกัน กลายเป็นผืนผิว  เกิดเป็นรูปร่างรูปทรง โดยที่ครูใช้คำถาม
กระตุ้นการคิดและสังเกตุ ในขณะที่ลงมือทำงาน เช่นเมื่อพี่จุดต่อๆกันในแนวเดียวกัน
เกิดอะไรขึ้น พี่คิดอย่างไร และถ้าจุดซ้ำๆ ที่เดิมบ่อยๆเข้าภาพจะเป็นอย่างไร เพราะอะไร
ครูชมทุกครั้งที่นักเรียนพยายามสังเกตและหาคำตอบ 

เรขาสร้างสรรค์(2มิติ)





กิจกรรมส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปเรขาคณิต 2 มิติ
เป็นการวัดความเข้าใจในเรื่องของเรขาคณิต 2 มิติ โดยการตัดกระดาษสีเป็นรูปเรขาคณิต 2 มิติ
แล้วติดแปะลงในกระดาษ A4 เพื่อสร้างรูปสร้างสรรค์ตามจินตนาการ จากนั้นนักเรียนจะได้นำ
สิ่งที่ตนทำมานำเสนอและเล่าเรื่องราวจากภาพที่สร้างขึ้นได้ด้วย เวลาที่นักเรียนลงมือทำจะมี
สมาธิจดจ่อในการตัดและและมีความสุข ครูช่วยในการกล่าวคำชมเมื่อเห็นผลงาน เช่นดีมากค่ะ
เยี่ยมมากค่ะ ภาพสวยงามมากค่ะ ระหว่างการทำงานครูเปิดเพลงบรรเลงคล่อเบาๆ
เช่นเพลงชมสวน

กิจกรรมในเวลา 1 วัน

กิจกรรมเสริมทักษะกระบวนการคิดเรื่องเวลา
โจทย์กำหนดเพียงวาดภาพกิจกรรมและบอกเวลาภายใน 1 วัน
จากนั้นนักเรียนจะเป็นผู้คิดวิธีการที่จะนำเสนอกิจกรรมที่สอดคล้อง
กับเวลาต่างๆ โดยที่ครูไม่จำกัดความคิด เปิดกว้างทางความคิดให้แสดงออก
อย่างเต็มความสามารถ นำความรู้เรื่องเวลากลางวันและกลางคืน เชื่องโยงเป็นคำตอบ
การตรวจครูจะไม่ใช้เครื่องหมายผิด จะใช้การขีดข้างใต้ข้อความหรือคำตอบ หรือเว้นไว้
ไม่ขีดเครื่องหมายถูก แต่ทุกครั้งที่นักเรียนส่งงานครูจะชมด้วยคำว่าดีมาก เยี่ยมมาก
เพื่อสร้างกำลังใจให้กับนักเรียน ถึงทำผิดมาก็ตามอย่างน้อยเขาก็ตั้งใจทำมาด้วยตัวของเขาเอง

รูปสวยด้วยจุดและเส้น 3


กิจกรรมเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์..
      
นักเรียนมีสิทธิ์สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการมีความมุ่งมั่นในการทำงาน รับผิดชอบในหน้าที่ของตน งานเดี่ยวเช่นของพี่ปลาย (ด.ช.วรยุทธ หนูช้างสิงห์)และงานคู่เช่นพี่ปุณ (ด.ช.ชนินทร์ จันทวงค์) กับพี่ใบตาล(ด.ช.ณพรัตน์ เถื่อนแก้ว) เสริมสร้างความคิดเป็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีครูให้คำชมและคำแนะนำ

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รูปสวยด้วยจุดและเส้น 2


กิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดภาพในสมอง..
     สามารถใช้ความรู้เก่าเชื่อมโยงเป็นผลงานชิ้นใหม่ตามจินตนาการ สร้างสรรค์ผลงานร่วมกับเพื่อน แลกเปลี่ยนความเข้าใจร่วมกัน เช่นเดียวกับคู่ของพี่ชมพู (ด.ญ.กุลปรียา สิงห์โพนทัน) กับพี่หมิว (ด.ญ.วนัสนันท์ ศรีสืบมา) ร่วมกันสร้างรูปสวยจากจุดที่กำหนดขึ้นเอง โดยครูชมให้กำลังใจในการตัดสิ้นใจลองทำด้วยตัวเอง “ลองทำดูตามที่พี่คิด ครูเชื่อว่าพี่ทำได้และทำได้สวยมาก” เมื่อนักเรียนทำออกมาได้แล้ว ครูพูดชมผลงานของเด็กอย่างจริงใจ “รูปสวยงามมาก พี่ทำได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ” เมื่อนักเรียนได้รับคำชมรูปต่อๆ มาก็จะเกิดตามมาอย่างตั้งใจ ไม่มีความกลัวที่จะลงมือทำ ไม่กลัวผิดหรือถูก

รูปสวยด้วยจุดและเส้น 1

   ในชั่วโมงสอนคณิตศาสตร์ครูได้ให้เด็กๆ ดูและสังเกตุของการเกิดเส้นของแต่ละเส้นจากสื่อ GSP โดยใช้จุดเชื่อมจุดทีละเส้นจนเกิดเป็นรูปภาพแรกๆ เด็กทึ่งกับสีสันต์อันสวยงามและภาพที่เกิดขึ้นแล้วครูใช้คำถามกระตุ้นให้คิดเรื่องการลากเส้นอย่างไร?

เมื่อเด็กๆ อยากลองทำดูบ้าง ครูจะนำกรอบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีจุดอยู่รอบๆ ในระยะห่างที่เท่าๆ กัน มาให้นักเรียนลองขีดเส้น เมื่อนักเรียนทดสอบลองผิดลองถูกจนได้ภาพตามต้องการแล้ว เขาก็จะเห็นการเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ในมิติของจุดและเส้น ดังภาพค่ะ



พี่ไก่ ป.3 
กับความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์รูปสวยจากเส้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

7 ชิ้น มหัศจรรย์

กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด..

พี่โรตี ป.3 (ด.ญ.บัณฑิตา ประภาสะโนบล)

พี่คิม ป.2 (ด.ช.พัฒนกาญจน์ สาโรจน์)

พี่แจ๊ป ป.1 (ด.ช.อัครวินท์ เรืองบุญ)

โดยมีกระดาษรูปเรขาคณิตขนาดต่างๆ จำนวน 7 ชิ้นที่ตัดจากรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพียง 1 รูป ให้นักเรียนจัดเรียงกระดาษต่อกันเป็นรูปอะไรก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์พี่โรตี ป.3 (ด.ญ.บัณฑิตา ประภาสะโนบล)เสร็จแล้วให้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่สร้างขึ้น เช่นเป็นอะไรมีประโยชน์อย่างไร ลักษณะพิเศษเป็นอย่างไร แล้วพบเจอที่ไหนจากนั้นลองให้นักเรียนต่อกลับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังเดิมดู เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด ลองจินตนาการภาพในสมอง ถ้าต่อชิ้นนี้กับชิ้นนี้จะเป็นอย่างไรแล้วชิ้นอื่นๆจะต่ออย่างไร เช่น พี่คิม ป.2 (ด.ช.พัฒนกาญจน์ สาโรจน์)และ พี่แจ๊ป ป.1 (ด.ช.อัครวินท์ เรืองบุญ) โดยที่ครูพยายามให้นักเรียนได้หาคำตอบด้วยตัวเอง หากยังไม่ได้ครูตั้งคำถามกระตุ้นให้คิด

ถ้าลองหารูปที่วางทับกันได้สนิทจะเป็นอย่างไร แล้วนักเรียนก็จะลองทำตามที่ตนคิดกับคำถามของครู เมื่อนักเรียนทำได้กล่าวคำชม(Empower)ในความพยายามของเขา ยอดเยี่ยมมากค่ะ/ทำได้ดีมากค่ะ แล้วถามอีกว่าพี่สังเกตุอย่างไรถึงต่อรูปภาพได้ ครูก็จะสังเกตุเห็นความคิดและจินตนาการของนักเรียนได้

เด็กชายปลาย

วันหนึ่งเด็กชายตัวเล็กๆ เดินเข้ามากอดทางด้านหลัง เด็กชายคนนั้นคือ พี่ปลาย นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา พร้อมเอ่ยคำถามในสิ่งที่เขาใคร่รู้ว่า..

"คุณครูครับพี่ๆ ป.3 กำลังเรียนเรื่องอะไรอยู่ครับ ถึงได้ทำกล่องน่ารักๆ แบบนี้”

ผมอยากทำบ้างจังเลยครับ” พี่ปลายพูดกับคุณครูด้วยแววตาที่อ้อนวอน

พี่ปลายอยากทำอะไรหรือค่ะ” คุณครูสอบถามความอยากรู้จากพี่ปลาย

รูปสามเหลี่ยมครับ ตัวที่เหมือนหลังคาบ้านอันนี้ครับ ผมชอบมากๆเลย สวยดีครับคุณครู” พี่ปลายพูดด้วยรอยยิ้มที่มุ้งมั่นอยากจะทำ

ได้สิจ๊ะ ครูมีแบบเหลืออยู่พอดีเลย แต่พี่ปลายต้องเอาแบบไปตัดเอง แล้วพับตามรอยที่ครูกำหนดไว้ให้นะคะ มาเดี่ยวคุณครูจะสอนวิธีการสร้างรูปสามเหลี่ยมประยุกต์ให้พี่ปลายดูให้เข้าใจนะคะ ก่อนจะนำไปฝึกต่อที่บ้าน เราเริ่มกันเลยดีไหมค่ะพี่ปลาย” คุณครูสอบถามความพร้อมจากพี่ปลาย

ได้ครับ ผมพร้อมแล้วครับ” พี่ปลายตอบด้วยอาการที่ตื่นตันใจ

จากนั้นครูก็พาพี่ปลายไปฝึกทำรูปสามเหลี่ยนมประยุกต์ที่ห้องคุณครู ครูส่งกระดาษให้พี่ปลายพร้อมอธิบายวิธีการทำให้พี่ปลายฟังจนกรทั่งเข้าใจ จากนั้นพี่ปลายรับกระดาษจากคุณครูมาฝึกตัดเป็นรูปร่างตามขั้นตอนที่คุณครูอธิบายจนเสร็จสิ้นขั้นตอนแรกในการตัดกระดาษ

เยี่ยมยอดมากเลยคะพี่ปลาย ตัดกระดาษได้สวยงามมากเลย ทีนี้เรามาเริ่มขั้นตอนที่สองคือการฝึกพับกระดาษตามรูปร่างที่ครูกำหนดกันนะค่ะ” ครูชมพี่ปลายพร้มเชื่อมโยงสู่ขั้นตอนต่อไป

คุณครูครับ พับอย่างไรครับ จึงจะได้รูปร่างสวยๆ เหมือนของพี่ๆ ป.3 อะครับ” พี่ปลายถามเพราะความอยากรู้

แล้วพี่ปลายคิดว่า เราต้องเริ่มพับอย่างไรค่ะ” ครูใช้คำถามย้อนกลับให้คิด

อ่อ! ผมคิดว่าน่าจะพับตามรอยเส้นปะ พับตามรอยนี้เลยใช่ไหมครับคุณครูครับ” พี่ปลายเสนอแนวคิด

ค่ะ พี่ปลายลองพับดูนะค่ะ” ครูไม่บอกวิธีการ สอนให้พี่ปลายเรียนรู้กระบวนการด้วยตัวเอง

เวลาผ่านไปนิดเดียว เสียงแววๆ จากพี่ปลายบอกคุณครูว่า..

ผมพับตามรอยเสร็จแล้วครับคุณครู สวยจัง! เหมือนของพี่ๆ ป.3 เลยครับ ให้ผมติดกาวเลยได้ไหมครับคุณครู”

ได้สิค่ะ พี่ปลายลองติดกาวเลย”

จากนั้นพี่ปลายเริ่มนำกาวมาติดให้กระดาษ 2 มิติเริ่มประกบกันที่ละจุด ด้วยความตั้งใจในชิ้นงานจนชิ้นงานพี่ปลายติดเสร็จสมบูรณ์กลายมาเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 มิติ แล้วพี่ปลายก็นำชิ้นงานมามอบใส่มือคุณครู พร้อมคำพูดสั้นๆ ว่า

คูณครูครับ! ผมของานชิ้นนี้กลับไปต่อเติมอีกที่บ้านได้ไหมครับ”

ได้สิจ๊ะ ครูยกให้พี่ปลายเลยค่ะ ครูเห็นความตั่งใจในการทำชิ้นงานชิ้นนี้”

พี่ปลายมีความสุขมากที่จะมีชิ้นงานสวยๆ กลับไปบ้าน พี่ปลายบอกกับคุณครูว่า..

ผมจะเอาไปเป็นของขวัญกำลัวใจมอบให้คุณพ่อผมครับ ท่านนอนอยู่บนเตียงเดินไม่ได้มาหลายปีแล้วครับ..”