วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การวิจัยในชั้นเรียน (Lesson Study) - การสอนคณิตศาสตร์

     โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาทางเรามีหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรครูผู้สอนคณิตศาสตร์ด้วยการทำวิจัยในชั้นเรียน(Lesson Study) เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ เพื่อให้ครูเข้าถึงหัวใจสำคัญของทุกๆ สาระของคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน ถึงขั้น Train the Trainer 
การวิจัยในชั้นเรียน(Lesson Study) ก็คือ การทำงานร่วมกันของกลุ่มครูเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและการพัฒนาแผนการสอนที่มีการสังเกต การวิเคราะห์ และทบทวนร่วมกัน
   การกำหนดประเด็นของครูผ่านกระบวนการเหล่านี้ ก็เพื่อที่จะปรับปรุงวิธีคิดของเด็กและการทำให้บทเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการดำเนินการตามกระบวนการดังนี้..
1. เลือกหัวข้อการการศึกษา(Choose a research theme : โดยกลุ่มครูร่วมกันสร้างหัวข้อการศึกษาวิจัย เป็นการมองที่ภาพกว้างของโรงเรียน มีจุดเน้นที่คำถามการศึกษาที่เกี่ยวกับทักษะหรือเจตคติการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่อยู่ในความดูแล ตัวอย่าง หัวข้อการศึกษาอาจเพื่อหาว่าจะเพิ่มการอิสระในการคิดของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร
2. ระบุประเด็นในการศึกษา(Focus the research) : ครูเลือกหน่วยและกำหนดจุดมุ่งหมายที่จะศึกษา เพื่อศึกษาความสามารถและความต้องการของผู้เรียนภายใต้หน่วยการเรียนที่กำหนด ตัวอย่าง ครูอาจเลือกหน่วยการเรียนเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงเรขาคณิต และจุดมุ่งหมายของการเพิ่มความสามารถของนักเรียน ก็คือการใช้วิธีคิดอย่างมีอิสระที่จะประยุกต์การเปลี่ยนรูปทรง ภายใต้ข้อตกลงร่วมที่สอดคล้องและเหมือนกัน
3. สร้างบทเรียน(Create the lesson) : ครูเลือกบทเรียนจากหน่วยนำไปพัฒนาและใช้เป็นต้นแบบแผนการสอนที่ได้สร้างขึ้น(Template) ตันแบบนี้ต้องมีความเหมาะสมตามสาระหลักสูตรโรงเรียนที่เชื่อมโยงกับชื่อเรื่องบทเรียนและทักษะด้านเนื้อหาที่ได้รับก่อนเรียนและเพื่อเป็นเนื้อหาสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แม่แบบแผนการสอนนี้ยังเน้นวิธีประเมินการคิดระหว่างบทเรียนอีกด้วย
4. สอนและสังเกตบทเรียน(Teach and observe the lesson) : บทเรียนจะถูกสอนโดยสมาชิกของกลุ่มและจะได้รับการสังเกตจากสมาชิกคนอื่นๆ โดยมุ่งการดูที่วิธีการคิดของเด็ก ไม่ใช่ประเด็นที่ความสามารถการสอนของครู
5. สนทนาบทเรียน(Discuss the lesson) : กลุ่มสมาชิกนำบทเรียนและนำข้อสังเกตต่างๆ จากบทเรียนมาสนทนากัน การสนทนาควรทำในวันเดียวกัน เป็นการนำเสนอและวิเคราะห์วิธีคิดและการทำงานของนักเรียนแต่ละคน/กลุ่ม ว่ามีจุดที่เด่นจุดด้อย และสอดคล้องกับบทเรียนที่กำหนดอย่างไร
6. ทบทวนบทเรียน(Revise the lesson) : หมายถึง การนำบทเรียนไปใช้อีกโดยครูสมาชิกที่ได้รับเลือกในกลุ่ม และใช้หลักการเดียวกันคือการสังเกต และการวิเคราะห์ โดยจะต้องทำการสนทนาทบทวนบทเรียนอีกครั้ง ขั้นตอนนี้ จะเป็นการสร้างความชัดเจนของผลการศึกษาคือบทเรียนและทักษะการคิดของนักเรียน ที่ได้จากการสอนครั้งที่ผ่านมา
7. การสรุปรายงานข้อค้นพบ(Document the findings) : เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ กลุ่มจัดทำรายงานในระบบเครือข่ายในสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหัวข้อและจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น