วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คลิปVDO แนะนำสื่อการสอน 'คณิตศาสตร์นอกกะลา'

ครูคณิตศาสตร์นอกกะลา
ถ่ายทำวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554
ณ โรงเรียนนอกกะลา

ตัวอย่าง 4 คลิป การสอน 4 กิจกรรม

สื่อชุดแท่งเศษส่วน 
สอนโดย: นายชาญณรงค์ วิเศษสัตย์(ครูชาญ)
 
สื่อชุดแผ่นร้อย
สอนโดย: นางสาวน้ำฝน ลาภศึก(ครูฝน)

 
สื่อชุดรูปร่างหรรษา
สอนโดย: นายบุณเส็ง ดำขำ(ครูเส็ง)
 
สื่อชุดลูกเต่าแสนกล
สอนโดย: นายราชิต สุพร(ครูป้อม)

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เศษส่วน : การอ่านและเขียนเศษส่วน

การอ่านและเขียนเศษส่วน
  เศษส่วนประกอบด้วยตัวเศษคือจำนวนชิ้นส่วนที่มี และตัวส่วน คือจำนวนชิ้นส่วนทั้งหมดของวัตถุนั้น โดยแต่ละส่วนมีขนาดที่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น 3/4 เศษสามส่วนสี่ หรือ สามในสี่ หรือวัตถุสามชิ้นส่วนจากวัตถุทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน นอกจากนั้น การแบ่งวัตถุสิ่งหนึ่งออกเป็นศูนย์ส่วนเท่า ๆ กันนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น 0 จึงไม่สามารถเป็นตัวส่วนของเศษส่วนได้





วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จัดบอร์ดกระบวนการเรียนการสอน 'คณิตศาสตร์นอกกะลา'

วันนี้ทีมครูคณิตศาสตร์นอกกะลา โรงเรียนนอกกะลา


   ช่วงบ่ายโมงเราช่วยกันจัดบอร์ดคณิตศาสตร์ ภายในห้องอบรม โดยเรามีองค์ประกอบทั้งหมดของบอร์ดทุกกระบวนการที่เรามี ดังนี้

ขอเล่ากระบวนการ ผ่านภาพนิ่งนะครับ..
 - กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตลอดทั้งปี
* ผังมโนทัศน์
* ปฏิทินรายปี
* แผนการสอน
* แนวทางการประเมิน

- 3 กระบวนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจ / ทำไมต้องสอนคณิตศาสตร์?



- ตัวอย่างชิ้นงาน / หลักสูตรการอบรมคณิตศาสตร์นอกกะลา

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554



เรียนรู้คณิตศาสตร์ ตอน "นักสำรวจปริมาตรและค้นหาพื้นที่"

.....วันนี้เป็นอีกเช้าวันหนึ่งที่ครูน้ำผึ้งกับพี่ๆ ม.1 ที่เชื่อว่าเป็นนักสำรวจตัวยง ได้ร่วมทำกิจกรรม "นักสำรวจปริมาตรและค้นหาพื้นที่" เริ่มต้นด้วยเรื่องเล่าจากครูน้ำผึ้งเพื่อเป็นการจุดประกายให้กับเหล่านักสำรวจเสียก่อนซึ่งเกี่ยวกับ วัสดุและสถานที่ต่างๆที่มีรูปร่างแตกต่างกัน เช่น แก้วน้ำ ที่มีรูปทรงกระบอก กรวยไอศกรีม พิพิธพันธ์ของชาวอียิปส์โบราณที่มีรูปทรงที่เรียกว่าพีรมิด ฯลฯ

เริ่มต้นกิจกจรรม : โดยนักสำรวจแต่ละกลุ่ม ได้ออกแบบรูปทรงต่างๆ พร้อมทั้งระดมสมองเพื่อคิดหาวิธีการคำนวนลิงก์พื้นที่ของรูปทรงที่กลุ่มตัวเองได้ออกแบบมา ไม่ว่าจะเป็น ทรงกระบอก พีรมิดฐานสี่เหลี่ยมพื้นผ้า พีรมิดฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ปริซึมรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ทรงกรวย

ตัวอย่าง ผลงานการระดมสมองของเหล่านักสำรวจคนเก่งคะ


เสร็จสิ้นกิจกรรมสนุกๆวันนี้ ทั้งคุณครูน้ำผึ้ง และ พี่ๆ ม.1 ชาวนักสำรวจ ก็ได้ทั้งไอเดีย การคำนวนหาพื้นที่ ซึ่งมีหลายวิธี พร้อมด้วย ชิ้นงานรูปร่าง รูปทรง น่ารักๆที่แฝงไปด้วยความรู้และสิ่งที่น่าค้นหาที่ พี่ๆ ม.1 ได้ร่วมใจกัน Creative ขึ้นมาคะ

.....กิจกรรมต่อไปเหล่านักสำรวจจะทำอะไร อย่าลืมติดตามนะคะ...







วิชา การคิด (เรียงกระป๋อง กับ แบ่งวงกลม)...

    การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์
เราสอนคณิตฯ ที่เป็น concept 4 ชั่วโมง(สาระที่ 1 - สาระที่ 5) และอีก 1 ชั่วโมง(สาระที่ 6) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอน 'การคิด'..

วิชา การคิด

  “ทำไมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
จึงได้สอนวิชาการคิดด้วย ทั้งที่โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีสอน ”
    ทุกคนล้วนอยู่กับการคิดทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เราหลับใหลหรือเราตื่น การคิดจึงเป็นสิ่งเริ่มต้นสอนให้เรารู้จักการแสวงหาสิ่งที่อยากเรียนรู้

มีหลายครั้งที่มีคนมาบอกผมว่าหลายศาสตร์ที่เรียนมาในวิชาคณิตศาสตร์ไม่เห็นจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันเลย? อาทิ เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส เป็นต้น เรื่องต่างๆ เหล่านี้ในสมัยเรียนอาจารย์ท่านเขี้ยวเข็ญให้เราเรียน ไม่เข้าใจก็ให้เราทำซ้ำๆ ซ้ำอีกหลายๆ ครั้งจนตาแทบลาย 
สรุปแล้วเมื่อออกมาเผชิญในโลกแห่งความเป็นจริงกลับไม่ได้ใช้ความรู้ที่ยากๆ เหล่านี้เท่าที่ควรเลย
   ช่วงที่ผมเรียนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกผมไว้ว่า เราได้นำศาสตร์ที่ยากๆ ของวิชาคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวันของหลายๆ คนเพียง 3% เท่านั้นเอง! แล้วที่เหลืออีก 97% ล่ะ เราจะได้นำมาใช้ตอนไหน??

หลายครั้งที่มีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ใจดีที่มาศึกษาดูงาน ถามผมว่า.. "ทำไมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ถึงได้สอนวิชาการคิดให้นักเรียน ทั้งๆ ที่หลายๆ โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีวิชานี้เลย?"
ผมตอบว่า.. "วิชาการคิดเป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ทุกระดับชั้นประถมศึกษาจะได้เรียนการคิดกับคุณครูชาญ(นายชาญณรงค์ วิเศษสัตย์) ซึ่งวิชาการคิดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของนักเรียน โจทย์คำถาม เนื้อหาในการสอนครูชาญก็จะใช้เนื้อหาที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น ผมเชื่อว่านักเรียนที่ได้เรียนรู้วิชาการคิดจะมีผลทำให้เขาเรียนรู้วิชาอื่นดีไปด้วย..
มีนักเรียนคนหนึ่งไม่ชอบเรียนวิชาอะไรเลย มีวันหนึ่งเขายกมือตอบคำถามคุณครูได้ก่อนใครและคำตอบนั้นถูกต้อง นักเรียนคนดังกล่าวที่ไม่เก่งวิชาอื่นอาจรู้สึกทันทีว่าตัวเองคิดเก่ง ผลของการตอบคำถามถูกในครั้งนั้นจะช่วยให้นักเรียนภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ทำให้กล้าคิดที่จะเรียนรู้อย่างอื่นไปด้วย..
มีงานวิจัยเขียนไว้ว่าการที่ครูผู้สอนสอดแทรกวิชาการคิดให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ในระดับสูงเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยและมีงานวิจัยของอาจารย์ท่านหนึ่งชาวออสเตรเลียชื่อจอห์น เอ็ดเวิร์ด ได้ทดลองเพิ่มวิชาการคิดสอดแทรกเข้าไปในชั่วโมงเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยที่เอ็ดเวิร์ดเปรียบเทียบนักเรียนกลุ่มเดียวกัน ใช้วิธีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เต็มเวลาให้กับผู้เรียนเช่นครั้งที่ผ่านๆ มา ปรากฏว่าผลการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนครั้งที่สอนวิชาการคิดสอดแทรกในชั่วโมงสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกับทำคะแนนได้ดีกว่าการเรียนที่สอนวิทยาศาสตร์เต็มเวลา"..
   การสอนวิชาการคิดของครูชาญจะมีวิธีการสอนที่แตกต่างจากครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ ที่ผมเคยเห็นมามากเลยทีเดียวครับ การสอนโดยใช้น้ำเสียงที่ไพเราะ(monotone) การสอนโดยสอนผ่านเพลงคลื่นสมองต่ำ การสอนโดยไม่เปรียบเทียบตัวผู้เรียน การสอนโดยใช้คนชมให้กับผู้เรียน การใช้เหตุผลในคำถามทุกคำถาม เป็นต้น 
  ผมชอบแนวการสอนนี้มาก แต่ตัวผมเองต้องใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้และเข้าใจให้ลึกถึงวิธีการสอน รูปแบบดังกล่าวอีกสักระยะ.. 
ผมเชื่อว่าถ้าคุณครูสอนการคิดสอดแทรกเข้าไปในทุกรายวิชา บางคาบอาจจะเป็นเกมผ่อนคล้ายให้นักเรียนเล่นในคาบการสอนวิชาไหนก็ได้หรือเป็นการทดลองโดยการปฎิบัติจริง จะทำให้ผู้เรียนได้รับการผ่อนคลาย จะทำให้ผู้เรียนกระหายที่จะเรียนรู้ เมื่อเขาเปิดพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วคุณครูก็จะสอนอะไรให้กับผู้เรียน เขาก็จะตื่นเต้นกระหายที่จะเรียน

ประเด็ญที่สำคัญยิ่งในการสอนวิชาการคิด ครูใหญ่(วิเชียร ไชยบัง) เคยบอกไว้ว่า.. "การที่นักเรียนตั้งคำถามสอบถามคุณครู ครูอย่าพึ่งบอกคำตอบให้กับเขา ครูควรใช้คำถามย้อนกลับในคำถามนั้นกับเขา ให้เขาได้ใคร่ครวญในคำตอบ สอนให้เขาคิดแสวงหาคำตอบด้วยตัวเอง 
ถ้าเกิดครูบอกคำตอบให้กับเขาเลยก็จะทำให้เขาเกิดความเคยชิน สุดท้ายแล้วเขาจะไม่คิดที่จะแสวงหาคำตอบเอง เพราะเขาจะคิดว่าอยากรู้อะไรเขาจะมารับคำตอบจากครูทุกครั้งไป"...


ตัวอย่างชิ้นงาน กิจกรรมการคิด..